ผลของการใช้กระเป๋าพกพาแบบบันทึกนับลูกดิ้นเปรียบเทียบกับแบบบันทึกแบบดั้งเดิม ต่อความสม่ำเสมอในการนับลูกดิ้น Effects of Portable Pocket Diary for Recording Fetal Movement Counts Compared with the Usual Counting Diary on Consistency of the Counting

Authors

  • Pranom Polpat
  • Watcharee Dankul
  • Sririchat Rongsak

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสม่ำเสมอของการนับลูกดิ้นระหว่างหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้เครื่องกระเป๋าพกพาแบบบันทึกนับลูกดิ้นและที่ใช้แบบบันทึกนับลูกดิ้นตามปกติ วิธีการศึกษา: ในการวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่ฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กรุงเทพมหานคร ระหว่างสิงหาคม 2560 – กรกฎาคม 2561 มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า คือ มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองใช้กระเป๋าพกพาแบบบันทึกนับลูกดิ้นจำนวน 43 ราย และกลุ่มควบคุมใช้แบบบันทึกนับลูกดิ้นตามปกติจำนวน 48 ราย ติดตามรวบรวมข้อมูลทุกครั้งที่มาตรวจครรภ์จนกระทั่งคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วย chi-squared และ Fisher’s exact test ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์เดี่ยวกลุ่มทดลองที่ใช้กระเป๋าพกพาแบบบันทึกนับลูกดิ้นมีความสม่ำเสมอในการนับลูกดิ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้แบบบันทึกนับลูกดิ้นตามปกติ (P-value < 0.001) สรุป: การใช้กระเป๋าพกพาแบบบันทึกลูกดิ้นเป็นทางเลือกหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ เป็นสัญลักษณ์เตือนความจำให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักและเห็นความสำคัญว่าการนับลูกดิ้นแสดงถึงการมีสุขภาพดีของทารกในครรภ์ ส่งเสริมให้มีการนับลูกดิ้นอย่างสม่ำเสมอ คำสำคัญ: แบบบันทึกนับลูกดิ้น, ความสม่ำเสมอ, การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์Abstract Objective: To compare consistency in counting fetal movement by pregnant women using portable pocket diary and the usual counting diary. Method: In this quasi-experimental research, sample was women with single pregnancy who had antennal care (ANC) and delivered at Nopparatrajathanee Hospital, Bangkok, between August 2017 and July 2018. Their pregnancy had to be 28 weeks or greater. They were divided into two groups, 43 in the experimental group (portable pocket diary) and 48 in the control group (usual diary). Participants were followed up at each ANC visit till delivery to collect for demographic, ANC status, and pregnancy outcome data. Data were analyzed using chi-square and Fisher's exact tests. Results: Pregnant women in the experimental group had more consistency in counting fetal movement than those in the control group (P-value < 0.001). Conclusion: The portable pocket diary to record fetal movement counts could be an alternative method for pregnant women. It could help remind pregnant women to realize that counting fetal movement could ensure fetus well-being and should be done on a regular basis. Keyword: fetal movement count record diary, consistency, fetal well-being assessment

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-09-30