ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเท้าต่อพฤติกรรมการดูแลเท้า ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย Effects of Foot Health Promotion Program on Foot Care Behavior of Type 2 Diabetic Patients in Muang District, Sukhothai Province

Authors

  • Nithipong Sribenchamas

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเท้าต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีประชากร คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใน อ.เมือง จ.สุโขทัยจำนวน 6,537 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเท้าโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองโอเร็มและเทเลอร์ ซึ่งมีการพบปะและฝึกหัด 3 ครั้ง ใน 12 สัปดาห์ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ให้ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มตอบคำถามก่อนและหลังโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และใช้ paired sample t-test และ independent sample t-test สำหรับทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มตามละดับ ผลการศึกษา: ก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเท้า กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าเท่ากับ 93.40 ± 13.45 และเพิ่มเป็น 107.33 ± 7.24 หลังได้รับโปรแกรม ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนเท่ากันทั้งก่อนและหลังได้รับโปรแกรม๖ (90.97 และ 91.37 ตามลำดับ) และที่หลังโปรแกรม คะแนนในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) สรุป: โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเท้าสามารถทำให้พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ดีขึ้น จึงควรนำโปรแกรมไปใช้ประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้ป่วยในพื้นที่อื่นต่อไปคำสำคัญ: โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลเท้า, โรคเบาหวานชนิดที่ 2Abstract Objective: To determine the benefit of a program to promote foot care behavior in type 2 diabetes Method: In this quasi-experimental research, the study population and sample were 6,537 and 60 type 2 diabetes patients in Muang district, Sukhothai province. A total of 30 participants each in experimental and control groups were selected through multi-stage random sampling. Research instruments consisted of a health promotion program for foot care behavior and a questionnaire on the behavior. Modeled after the concept of self-care of Orem and Taylor, the program had 3 sessions with a 12-week duration. The questionnaire was completed by the two groups both before and after the program. Descriptive statistics was used to present all information. Paired sample t-test and independent sample t-test were used to compare within-group and between-group differences, respectively. Result: Score of foot care behavior in the experimental group increased from 93.40 ± 13.45 points at baseline to 107.33 ± 7.24 points after the program. Scores in the control group remained the same (90.97 and 91.37 points, respectively). After the program, score of the behavior in the experimental group was significantly higher than that in the control group (P-value < 0.05). Conclusion: Foot care promotion program could improve foot care behavior in type 2 diabetes patients and should be implemented in a wider group of patients. Keywords: health promotion program, foot care behavior, type 2 diabetic  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-09-30