ผลของโปรแกรมการใช้ครอบครัวเป็นฐานเพื่อป้องภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียน Effects of Family-based Intervention to Prevent Overweight in School-age Children

Authors

  • Mayurachat Kanyamee
  • Srisuda Rassameepong
  • Narunest Chulakarn

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการใช้ครอบครัวเป็นฐานเพื่อป้องภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียน การจัดกิจกรรมได้พัฒนามาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ Bandura วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและนครนายกจำนวน 136 คน แบ่งเข้ากลุ่มควบคุมและทดลองอย่างละเท่า ๆ กัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมนาน 5 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารตามหลักสูตรของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคไขมันและอาหารที่มีรสหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) และ การทดสอบค่าที (independent t-test) ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้น และคะแนนพฤติกรรมการบริโภคไขมันและอาหารที่มีรสหวานลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป: โปรแกรมการใช้ครอบครัวเป็นฐานเพื่อป้องภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมร่วมกับการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองสามารถช่วยให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม นอกจากนี้ พยาบาลอนามัยโรงเรียนและครูในโรงเรียนสามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวในการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนให้ดีขึ้นได้ คำสำคัญ: โปรแกรมการใช้ครอบครัวเป็นฐาน, ทฤษฎีการเรียนรู้, ภาวะโภชนาการเกิน, เด็กวัยเรียน, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร  Abstract Objective: To examine the effects of a family-based intervention on increasing fruit and vegetable intake and reducing fat and sugar intake among school-age children. The activities were based on the Bandura’s social cognitive theory (SCT). Methods: In this quasi-experimental study, the sample was 136 children studying in grade 5 - 6 in Bangkok and Nakonnayok province. They were randomized into experimental or control group. The experimental group received an intervention for 5 weeks while the control group received the school’s usual consumption behavior educational program. Data were collected using three questionnaires including demographic characteristics, fruit and vegetable intake behavior, and fat and sweet intake behavior. These questionnaires were administered at baseline and 16th week after baseline. Data were analyzed by using descriptive statistic and independent t-test. Results: Significant differences between the experimental and control groups in fruit and vegetable intake, fat and sweet intake at 16th week after baseline (P-value < 0.05). Conclusion: The family-based intervention based on SCT was effective to improve healthy eating behavior among school-age children. Therefore, school health nurses and instructors can apply this intervention to improve eating behavior among school-age children. Keywords: family-based intervention, learning theory, overweight, school-age children, dietary intake behavior

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-09-30