ผลของการจัดการผู้ที่ได้รับยาวาร์ฟารินโดยเภสัชกร ณ โรงพยาบาลมโหสถ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว Effects of Pharmacist-Managed Warfarin Therapy at Mahosot Hospital, Lao PDR

Authors

  • Vanlounni Sibounheuang
  • Wanarat Anusornsangiam
  • Pattarin Kittiboonyakun

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการจัดการผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินโดยเภสัชกรกับการดูแลแบบปกติที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมโหสถ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วิธีการศึกษา: เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ณ แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจลาว-ลักเซมเบิร์ก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยได้รับยาวาร์ฟาริน 1 เดือนขึ้นไป และรับยาต่ออีกอย่างน้อย 4 เดือน มีผลตรวจค่า INR ทุกครั้งที่มาติดตามการรักษา ผู้ป่วยจะถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (มีเภสัชกรจัดการการได้รับยาวาร์ฟาริน) และกลุ่มควบคุม (รับการดูแลแบบปกติ) วัดผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ ผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1) ช่วงเวลาที่ค่าไอเอ็นอาร์อยู่ในช่วงรักษา (TTR) 2) ค่า INR 3) คะแนนความรู้ 4) ปัญหาจากการใช้ยา (ขนาดยาต่ำกว่าขนาดที่ควรได้รับ ขนาดยาสูงกว่าขนาดที่ควรได้รับและปฏิกิริยาระหว่างยาวาร์ฟาริน) 5) ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน 6) ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ส่วนผลลัพธ์ด้านความปลอดภัย คือ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (อาการเลือดออกชนิดรุนแรง หรืออาการเลือดออกชนิดไม่รุนแรง) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ student t-test, Mann-Whitney U test repeated-measure ANOVA test, Chi-squared test, Fisher’s exact test และ Cochran’s test ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 72 คน (กลุ่มละ 36 คน) ค่า TTR ของผู้ป่วยในกลุ่มทดลองเท่ากับ 63.3 ± 35.5% ซึ่งสูงกว่าค่า TTR ในกลุ่มควบคุม (45.3 ± 39.9%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.046) คะแนนความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่การติดตามครั้งที่ 3 ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (13.2 และ 7.0 ตามลำดับ, P-value = 0.013) ปัญหาจากการใช้ยาที่พบมากที่สุด คือ ขนาดยาต่ำกว่าขนาดที่ควรได้รับ (30 ครั้งในกลุ่มทดลอง) และพบปัญหาจากการใช้ยา ณ การติดตามครั้งที่ 4 ในกลุ่มทดลองจำนวน 6 ครั้งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบจำนวน 15 ครั้ง สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีผลลัพธ์ที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม การจัดการการได้รับยาวาร์ฟารินโดยเภสัชกรสามารถช่วยเพิ่มผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้จะนำไปสู่การจัดตั้งคลินิกวาร์ฟารินโดยเภสัชกรในระยะยาวต่อไป ณ โรงพยาบาลมโหสถ และโรงพยาบาลอื่น ๆ คำสำคัญ: เภสัชกร, ยาวาร์ฟาริน, ช่วงเวลาที่ค่าไอเอ็นอาร์อยู่ในช่วงรักษา, TTR, ความรู้Abstract Objective: To determine the effects of warfarin clinic serviced in patients receiving pharmacist-managed warfarin therapy and those receiving usual care at out-patient department, Mahosot Hospital, Lao PDR. Methods: A randomized controlled trial was conducted at the out-patient department, Lao Luxembourg heart center. To be eligible, patients had to receive warfarin for at least 1 month, continue warfarin for a minimum of 4 months, and have the INT result for each visit. Patients were randomized either to the pharmacist-managed warfarin therapy (control group) or the usual care (control group). Efficacy outcomes were 1) time in therapeutic range (TTR), 2) INR 3) knowledge scores 4) DRPs (sub-therapeutic dosage, over dosage, and drug interactions) 5) thromboembolism events 6) patient adherences. Safety outcomes were adverse drug reactions (major bleeding or minor bleeding). A student t-test, a Mann-Whitney U test, a repeated-measure ANOVA test, a Chi-squared test, a Fisher’s exact test and a Cochran’s test were used statistical analysis. Results: From a total of 72 patients (36 in each group),TTR was 63.3 ± 35.5% in the test group and 45.3 ± 39.9% in the control group with statistical significance (P-value = 0.046). Knowledge scores about warfarin therapy were significantly different between the test and control groups at 3rd visit (13.2 and 7.0 points, respectively, P-value = 0.013). The most common DRPs identified were sub-therapeutic dosage (30 cases in the test group). At 4th visit, 6 and 15 DRPs were found in the test and control groups, respectively. Conclusion: Patients receiving pharmacist-managed warfarin therapy had better outcomes than those receiving usual care. These results then lead to the long-run establishment of warfarin clinic led by pharmacist at Mahosot Hospital, and other hospitals. Keywords: pharmacists, warfarin, time in therapeutic range, TTR, knowledge

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-09-30