ประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เภสัชวิทยาของยาต้านมะเร็ง Effectiveness of Computer-Assisted Instruction of the Pharmacology of Anticancer Drugs

Authors

  • Benjamart Cushnie
  • Achida Jaruchotikamol
  • Pawitra Pulbutr
  • Tewa Narinram
  • Teeradon Polkor

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการทบทวนบทเรียนด้วยตนเองหลังเรียนภาคบรรยาย โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน (handout) และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (computer-assisted instruction; CAI) เรื่อง เภสัชวิทยาของยาต้านมะเร็ง ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนทางการเรียนรู้และความพึงพอใจของนิสิตต่อสื่อ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้ผ่านการเรียนภาคบรรยาย เรื่อง เภสัชวิทยาของยาต้านมะเร็งมาแล้ว 3 วัน จำนวน 91 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิจากเกรดเฉลี่ยสะสม โดยสุ่มแบ่งนิสิตเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (n = 46) ทบทวนบทเรียนด้วย handout และกลุ่มทดลอง (n = 45) ทบทวนบทเรียนด้วย CAI โดยใช้เวลา 80 นาที กำหนดให้ทบทวนบทเรียนด้วยตนเอง 2 ครั้งห่างกัน 3 วัน ประเมินผลโดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบก่อนทบทวน (PreInt) หลังทบทวนซ้ำสองครั้งทันที (PostInt2) หลังทบทวนซ้ำสองครั้งห่างกัน 15 วัน (Ret15) ผลสอบกลางภาค (หลังทบทวนซ้ำห่างกัน 25 วัน) และความพึงพอใจของนิสิตต่อสื่อ ผลการศึกษา: พบว่าหลังทบทวนซ้ำสองครั้งทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ย PostInt2 สูงกว่า PreInt อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบความคงทนทางการเรียนรู้ระหว่าง PostInt2 และ Ret15 ในส่วนผลการสอบกลางภาค พบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 90 โดยไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างกลุ่มเช่นกัน พบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงใจในส่วนภาพประกอบ ขนาดตัวอักษรและความกระชับของเนื้อหามากกว่ากลุ่มควบคุม (P-value < 0.05) สรุป: การทบทวนบทเรียนด้วยตนเองหลังการเรียนภาคบรรยายซ้ำสองครั้งจาก CAI หรือ handout ช่วยส่งเสริมด้านความรู้ความเข้าใจและความคงทนทางการเรียนรู้ได้ยาวนานถึง 25 วัน คำสำคัญ: บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, เภสัชวิทยาของยาต้านมะเร็ง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคงทนทางการเรียนรู้Objective: To compare learning effectiveness and retention and satisfaction of providing a traditional handout and computer-assisted instruction (CAI) for post-lecture review of information on the pharmacology of anticancer drugs. Methods: A total of 91 3rd year pharmacy students of Mahasarakham University were enrolled in the study. All participants attended the lecture of pharmacology of anticancer drugs 3 days before the experiment. Students were allocated to 2 groups by stratified random sampling based on accumulated grade point average (GPAX). Of these, 46 students were assigned to control group (handout), and 45 students to test group (CAI). Eighty minutes was set for each of the two self-study sessions 3 days apart. All participants were assessed using a pre-test (PreInt), post-tests given immediateoy after the two self-study sessions (PostInt2), and retention tests given 15 days (Ret15) after the second self-study session. Midterm examination (given 25 days after the second self-study session) and student satisfaction were also identified. Results: At PostInt2, participants in both groups had significantly higher scores than PreInt (P–value < 0.001). However, no significant difference between groups was detected. In terms of learning retention, no significant differences were detected between PostInt2 and Ret15. Both groups scored well in their midterm examinations, with all scores over 90%, and no significant difference detected between groups. Regarding the average satisfaction scores for lecture reviewing materials, these were significantly higher for CAI than the handout (p<0.05), with students preferring the imagery, text size and conciseness of the CAI. Conclusion: Students’ learning effectiveness and long-term learning retention (25 days) could be improved when lecture content was reviewed with either CAI or a handout. Further improvements could be achievable if a second self-study session with CAI or a handout was scheduled. Keywords: computer-assisted instruction (CAI), pharmacology of anticancer drugs, learning effectiveness, learning retention

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-08-23