Effects of Thai Traditional Play Program on the Ability to Control Muscle and Reaction Time of Muscle among Female Students in the Primary School
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่ให้เพิ่มจากวิชาพลศึกษาต่อความสามารถควบคุมกล้ามเนื้อและเวลาตอบสนองของกล้ามเนื้อในนักเรียนหญิงระดับประถมศึกษา วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงโรงเรียนชุมชนสามพร้าว จ.อุดรธานี จำนวน 36 คน โดยกลุ่มทดลอง (18 คน) ได้รับการฝึกโปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านไทยควบคู่กับชั้นเรียนพลศึกษา และกลุ่มควบคุม (18 คน) ได้เรียนพลศึกษาเพียงอย่างเดียว การฝึกวันละ 60 นาที 3 วันต่อสัปดาห์นาน 8 สัปดาห์ ประเมินความสามารถควบคุมกล้ามเนื้อโดยใช้แบบสอบถามที่ก่อนการฝึกและหลังการฝึก (8 สัปดาห์) วัดเวลาปฏิกิริยาของกล้ามเนื้อโดยชุด WittySEM® ที่ก่อนการฝึก สัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึก (สัปดาห์ 8) ทดสอบความต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ independent t-test ส่วนความต่างภายในกลุ่มใช้ paired t-test หรือ repeated measure ANOVA ตามความเหมาะสม กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีอายุไม่ต่างกัน (8.12 และ 8.43 ปี ตามลำดับ) คะแนนความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ 8 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเวลาตอบสนองของกล้ามเนื้อก็สั้นกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วย ทั้งการตอบสนองของมือที่สัปดาห์ที่ 8 และของเท้าที่สัปดาห์ที่ 4 และที่ 8 สำหรับการเปลี่ยนแปลงภายในกลุ่ม กลุ่มทดลองมีคะแนนควบคุมกล้ามเนื้อที่สัปดาห์ที่ 8 เพิ่มจากก่อนเริ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเวลาตอบสนองของมือและเท้าที่ 4 และ 8 สัปดาห์ต่างก็ลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: โปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านไทยเพิ่มความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อและลดเวลาตอบสนองของกล้ามเนื้อของนักเรียนหญิงในโรงเรียนประถมศึกษาดีกว่าการเรียนพลศึกษาเพียงอย่างเดียว คำสำคัญ: การละเล่นพื้นบ้านไทย, ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ, เวลาตอบสนองของกล้ามเนื้อ, นักเรียนหญิง, ประถมศึกษา Objective: To examine the effects of Thai traditional play program on the ability to control muscle and reaction time of muscle in addition to those by the usual physical education in primary school female students. Method: The sample consisted of 36 female students of Chumchonsampraw School, Udonthani province. Test group (n = 18) was trained with the Thai traditional plays training with physical education activity; while control group was trained with physical education activity only. The training took 60 minutes per day, 3 days per week, for 8 weeks. The ability to control muscle was measured by a questionnaire at before and after the 8-week training. Reaction time of muscle was measured using WittySEM® at before, at 4 weeks, and 8 weeks of the training. Differences between groups were ested by independent t-test; while within-group differences were tested using paired t-test and repeated measure ANOVA, as appropriate. Statistical significance was set at P-value < 0.05. Results: No difference in age between test and control groups was found (8.12 and 8.43 years, respectively). Scores of ability to control muscles in test group was significantly higher than that in control group at 8 weeks. Reaction time of the hand in test group was significantly shorter than that in control group at 8 weeks; while reaction time of the foot in test group was significantly shorter than that in control group both at 4 and 8 weeks. For within-group changes, score of ability to control muscle at 8 weeks was significantly increased from that at baseline. Reaction times of the hand and foot were significantly decreased from baseline both at 4 and 8 weeks. Conclusion: Thai traditional play program could increase ability to control muscle and improve reaction time of the muscle among the female students in primary school. Keywords: Thai traditional plays, ability to control muscle, reaction time of muscle, female students, primary schoolDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-08-23
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์