สมุนไพรสำหรับโรคสตรีที่ใช้โดยหมอพื้นบ้านในจังหวัดนครนายก The Use of Medicinal Plants for Gynecologic Ailments by Thai Traditional Folk Healers in Nakhonnayok Province

Authors

  • Worapan Sitthithaworn
  • Lalita Weerasathien
  • Chamaiporn Onsawang

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อระบุสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านในจังหวัดนครนายกใช้รักษาโรคสตรีในกลุ่มอาการไข้ทับระดู ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ และตกขาว และศึกษาความสัมพันธ์ของสรรพคุณสมุนไพรกับผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มีรายงานไว้ วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์หมอพื้นบ้านที่ใช้สมุนไพรรักษาโรคสตรีจำนวน 9 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงโดยงานแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก ใช้การสัมภาษณ์เดี่ยวแบบไม่มีโครงสร้าง จากนั้นสืบค้นข้อมูลผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเพื่อเชื่อมโยงสรรพคุณสมุนไพรตามองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านกับผลการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษา: ยาสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านในจังหวัดนครนายกใช้ในโรคสตรีมีสมุนไพรเดี่ยว 2 ชนิด คือ ช้าครามและไพล และตำรับยาสมุนไพรรวมทั้งสิ้น 9 ตำรับ สมุนไพรที่ใช้มีทั้งที่ซื้อจากร้านยาในจังหวัดนครนายก สมุนไพรที่ปลูกเอง และเก็บสมุนไพรจากที่มีอยู่ในชุมชน การปรุงยาส่วนใหญ่ใช้วิธีต้ม (ร้อยละ 66.66) ผลการสืบค้นข้อมูลฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าสมุนไพรแก้ไข้ทับระดูจำนวนร้อยละ 62.5 มีฤทธิ์แก้อักเสบ และร้อยละ 12.5 มีฤทธิ์ต่อสมดุลย์ของฮอร์โมนเพศหญิง สมุนไพรที่ใช้แก้ปวดประจำเดือนร้อยละ 63.7 มีฤทธิ์แก้อักเสบ มีสมุนไพร 1 ชนิดคือขิงที่มีการศึกษาทางคลีนิกว่าสามารถแก้ปวดประจำเดือน สมุนไพรแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติร้อยละ 45.5 มีฤทธิ์ต่อสมดุลย์ของฮอร์โมนเพศหญิง สมุนไพรแก้ตกขาวร้อยละ 44.4 มีฤทธิ์แก้อักเสบ และร้อยละ 22.2 มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ สรุป: การสำรวจการใช้สมุนไพรและการสืบค้นฤทธิ์ของสมุนไพร ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพรสำหรับโรคสตรี โดยสมุนไพรที่ใช้ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์แก้อักเสบและมีผลต่อสมดุลย์ของฮอร์โมนเพศหญิง คำสำคัญ: โรคสตรี, สมุนไพร, หมอพื้นบ้าน, จังหวัดนครนายก Objective: To determine medicinal plants used by folk healers in Nakhonnayok province for gynecological ailments including pelvic inflammatory disease (menstrual fever), dysmenorrhea, oligomenorrhea and leucorrhea. Relations of healing properties and reported pharmacological activities of the herbs was also determined. Method: In this qualitative study, nine folk healers prescribing medicinal plants for gynecological ailments were selected by a purposive sampling. The information was obtained by unstructured interview on individual folk healers. Pharmacological activities of the plants were studied from literature to establish relations of the local wisdom with scientific evidence. Results: Two single plants and nine formulas were used for healing gynecological ailments. The plants were obtained by cultivation, collection from the wilds, and purchase from herb stores. Decoction (66.66%) was the most used preparation method. Studies of pharmacological activities revealed that 62.5% of the plants used for menstrual fever exhibited anti-inflammatory activity and 12.5% for female hormone balance. In addition, 63.7% of the plants for dysmenorrhea were reported to possess anti-inflammatory activity and ginger was reported to relieve dysmenorrhea by clinical study. It was found that 45.5% of the plants for oligomenorrhea were reported to balance female hormones. Finally, the results showed that 44.4% and 22.2% of the plants for leucorrhea were reported to possess anti-inflammatory activity and diuretic property, respectively. Conclusion: The study provided basic information of the plants used for gynecological ailments by folk healers. These plants possessed mainly anti-inflammatory and female hormone balancing activities. Keywords: gynecological ailment, medicinal plants, folk healers, Nakhonnayok province

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-08-23