Development of Drug Therapy Management System by the participation of Pharmacist in Multidisciplinary Team: A Participatory Action Research in the Non-communicable Disease Clinic at Damnoensaduak Hospital
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการดูแลด้านยาโดยเภสัชกรในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลดำเนินสะดวก วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการพัฒนาแบบต่อเนื่อง เก็บข้อมูลระหว่างพฤศจิกายน 2559 ถึงกันยายน 2560 จากบุคลากรทางการแพทย์ 14 คน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบและทดสอบระบบ แล้วนำระบบที่พัฒนาขึ้นไปดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามแนวคิดองค์ประกอบ CCM และการพัฒนาแบบวงล้อ PDCA ผลการศึกษา: ระบบการดูแลด้านยาโดยเภสัชกรที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยการทำงานของเภสัชกร 3 ขั้นตอน คือ 1. การคัดกรองปัญหาด้านยาโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและจากการซักประวัติของเภสัชกร 2. การจัดการด้านยา และ 3. การส่งต่อข้อมูลแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ในการพัฒนาระบบอาศัยทุกองค์ประกอบของรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรัง โดยมีเป้าหมายและทิศทางเป็นองค์ประกอบเริ่มต้นในการพัฒนา ซึ่งระหว่างการดำเนินงานต้องใช้ทั้งระบบสารสนเทศ การปรับระบบและกระบวนการบริการ ระบบการสนับสนุนการจัดการตนเอง และระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ พบว่าระบบสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการดูแลด้านยามากที่สุด ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถคัดกรองปัญหาที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับยาก่อนวันนัดได้ร้อยละ 17.8 และในวันนัดคัดกรองได้ร้อยละ 42.7 ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ คือ ผู้ป่วยบริหารยาผิด (ร้อยละ 67.6) พบว่าแพทย์ให้การรักษาที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ส่งต่อให้ร้อยละ 63.6 สรุป: บทบาทเภสัชกรในทีมสหสาขาวิชาชีพโดยการทำงานเชิงรุกอาศัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการซักประวัติโดยเภสัชกรร่วมกันสามารถสนับสนุนให้การจัดการด้านยาในผู้ป่วยโรคติดต่อเรื้อรังได้เหมาะสมยิ่งขึ้นคำสำคัญ : ระบบการดูแลด้านยา, วิจัยแบบมีส่วนร่วม, เภสัชกร, ทีมสหสาขาวิชาชีพ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, วงจรพีดีซีเอ, โมเดลการดูแลโรคเรื้อรังObjective: To develop a drug therapy management system with pharmacist participating in multidisciplinary team suitable for the non-communicable disease (NCD) clinic of Damnoensaduak Hospital. Method: This participatory action research (PAR) was performed from November 2016 to September 2017. Fourteen healthcare providers were selected to be in the PAR team to coordinate analysis, design based on the components of Chronic Care Model (CCM) concept, and implementation of the developed system using the Plan-Do-Check-Act (PDCA) cycle. Results: The developed drug therapy management system consisted of three roles of pharmacists, namely (1) screening drug related problems (DRP) using information technology and history taking, (2) drug therapy management, and (3) communication of the patient’s information to the team and patient. All components of CCM could be implemented. Resource and policy were the initial components for development. During the ongoing process, other components namely clinical information systems, delivery system design, self-care support and decision-making support were applied with the information system component as the most important one. The developed system could screen 17.8% and 42.7% DRPs before and on the appointment day, respectively. Most DRPs were errors in patient’s self-administration (67.6%). The physician responded to the DRP in agreement with the information communicated by pharmacist by 63.6%. Conclusion: The proactive role of pharmacist using the information technology and history taking in the multidisciplinary team could offer an effective drug therapy in NCD patients. Keywords: drug therapy management system,participatory action research,pharmacist, multidisciplinary team, non-communicable disease, PDCA cycle, chronic care modelDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-08-23
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์