Efficacy of Non-Bisphosphonates for Prevention of Osteoporotic Vertebral Fracture in Postmenopausal Women: A Systematic Review and Meta-Analysis
Abstract
Objective: To determine efficacy of non-bisphosphonate drugs for preventing osteoporotic vertebral fracture in postmenopausal women by systematic review and meta-analysis. Methods: Published reports were searched through the electronic databases including MEDLINE and the Cochran Library (CENTRAL) from inception to November 2015. Randomized controlled trial (RCT) studies on efficacy of non-bisphosphonate drugs including denosumab, raloxifene, strontium ranelate, teriparatide and tibolone compared with placebo and/or calcium plus vitamin D with the outcome of incidence of vertebral fracture were selected. Results of pooled efficacy from meta-analysis were presented as risk ratio (RR) with 95% confident interval (CI). Results: The search identified 12 articles consistent with inclusion criteria. The studies compared effects of non-bisphosphonates with placebo for 1 - 3 years.It was found that denosumab, strontium ranelate and teriparatide significantly prevented vertebral fracture with RR = 0.33 (95% CI: 0.26 - 0.41), 0.60 (95% CI: 0.53 - 0.69) and 0.26 (95% CI: 0.14 - 0.49), respectively. Raloxifene was not better than placebo in preventing vertebral fracture (RR =0.76; 95% CI: 0.41 - 1.40). Since only one RCT of tibolone, its pooled result could not be estimated. Conclusion: Non-bisphosphonate drugs including denosumab, strontium ranelate and teriparatide were efficacious in preventing osteoporotic vertebral fracture in post-menopausal women. However, evidences indicating efficacy of raloxifene and tibolone were limited; the use of these drugs should be cautious. Further studies are needed.Keywords: bone fracture, postmenopausal women, osteoporosis, non-bisphosphonate, systematic review, meta-analysisบทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประมาณประสิทธิภาพของยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนต ในการป้องกันกระดูกสันหลังหักจากโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือนโดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน วิธีการศึกษา: สืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ MEDLINE และ Cochrane Library ตั้งแต่เริ่มมีฐานข้อมูล จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 คัดเลือกงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมที่เปรียบเทียบประสิทธิผลของยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนตได้แก่ denosumab, raloxifene, strontium ranelate, teriparatide และ tibolone กับการให้ยาหลอกหรือ/และแคลเซียมร่วมกับวิตามินดี โดยวัดผลลัพธ์เป็นอุบัติการณ์การหักของกระดูกสันหลัง วิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลของยาโดยแสดงด้วยค่าอัตราเสี่ยงสัมพัทธ์ (risk ratio) และช่วงความเชื่อมั่น 95% (95% CI) ผลการศึกษา: จากการสืบค้นพบงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 12 เรื่อง งานวิจัยศึกษาเปรียบเทียบกับผลของยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนตกับการให้ยาหลอก มีระยะเวลาการศึกษาอยู่ในช่วง 1 ปี ถึง 3 ปี ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่าการให้ยา denosumab, strontium ranelate และ teriparatide สามารถป้องกันการเกิดกระดูกสันหลังหักได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยค่า RR = 0.33 (95% CI: 0.26 - 0.41), 0.60 (95%CI: 0.53-0.69) และ 0.26 (95%CI: 0.14-0.49) ตามลำดับ ผลของการให้ยา raloxifene ในการป้องกันการเกิดกระดูกสันหลังหักนั้นไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (RR = 0.76; 95% CI: 0.41 - 1.40) ส่วนยา tibolone มีเพียง 1 การศึกษาจึงวิเคราะห์อภิมานไม่ได้ สรุป: ยาในกลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนต ได้แก่ denosumab, strontium ranelate และ teriparatide มีประสิทธิภาพในการป้องกันกระดูกสันหลังหักจากโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน อย่างไรก็ตาม หลักฐานเชิงประจักษ์ของยา raloxifene และ tibolone ยังมีจำกัด ดังนั้นการนำข้อมูลของยาสองตัวนี้ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยหญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุนจึงควรระมัดระวังและควรศึกษาเพิ่ม คำสำคัญ: กระดูกหัก, หญิงวัยหมดประจำเดือน, โรคกระดูกพรุน, ยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนต, การทบทวนวรรณกรรม, การวิเคราะห์อภิมานDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-06-27
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์