Efficacy of Bisphosphonates for Preventing Osteoporotic Fracture in Postmenopausal Women: A Systematic Review and Meta – Analysis

Authors

  • Waranee Bunchuailua
  • Srisakun Sinsawad
  • Witoon Auparigtatipong

Abstract

Objective: To estimate the efficacy of bisphosphonates in preventing osteoporotic fractures in postmenopausal women systematic review and meta-analysis. Methods: Published reports were searched through electronic database including MEDLINE and the Cochrane Library from inception to November 2015. We selected randomized controlled trials (RCTs) examining efficacy of bisphosphonates compared with placebo and/or calcium plus vitamin D with outcomes of incidence of bone fracture. Results: Sixteen RCTs with duration of 1 – 3 years met the eligibility criteria. Meta-analysis showed that alendronate (5 - 10 mg/day) and risedronate (2.5 and 5 mg/day) could prevent vertebral fracture by 45% (RR = 0.55; 95% CI: 0.46, 0.67) and 38% (RR = 0.62; 95% CI: 0.51, 0.75), respectively. Alendronate, risedronate and zoledronate (5 mg/day) could prevent non-vertebral fractures by 15% (RR = 85; 95% CI: 0.75, 0.97), 19% (RR = 0.81; 95% CI: 0.72, 0.90) and 24% (RR = 0.76; 95% CI: 0.66, 0.88), respectively.There were a limited number of studies on clodronate, etidronate and ibandronate. All bisphosphonates combined could significantly prevent vertebral fracture (RR = 0.57; 95% CI: 0.50, 0.64) and non-vertebral fracture (RR = 0.81; 95% CI: 0.76, 0.87). Conclusion: Bisphosphonates were efficacious in preventing bone fractures in postmenopausal women with osteoporosis. However, studies on clodronate, etidronate and ibandronate were limited, thus further studies should be conducted. Keywords: efficacy, fracture, osteoporosis, postmenopausal, bisphosphonateบทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประมาณประสิทธิภาพของยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตในการป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือนโดยวิธีทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน วิธีการศึกษา: สืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่  MEDLINE และ Cochrane Library ตั้งแต่เริ่มมีฐานข้อมูลจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยคัดเลือกงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมที่ศึกษาประสิทธิผลของยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต (alendronate, clodronate, etidronate ibandronate, risedronate และ zolendronate) เปรียบเทียบกับการได้รับยาหลอกและ/หรือการให้แคลเซียมร่วมกับวิตามินดี และวัดอุบัติการณ์การเกิดกระดูกหัก ผลการศึกษา: จากการสืบค้นพบงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก 16 ฉบับ  ศึกษาผลของยาเป็นเวลา 1 - 3 ปี การให้ยา alendronate (5 - 10 มก.ต่อวัน) และการให้ยา risedronate (2.5 และ 5 มก.ต่อวัน) ช่วยป้องกันการเกิดกระดูกสันหลังหักได้ร้อยละ 45 (RR = 0.55; 95% CI: 0.46, 0.67) และร้อยละ 38 (RR = 0.62; 95% CI: 0.51, 0.75) ตามลำดับ ส่วนประสิทธิผลในการป้องกันการเกิดกระดูกที่มิใช่กระดูกสันหลังหักพบว่า ยา alendronate, risedronate และ zoledronate (5 มิลลิกรัมต่อปี) ช่วยป้องกันกระดูกหักได้ร้อยละ 15 (RR = 0.85; 95% CI: 0.75, 0.97), ร้อยละ 19 (RR = 0.81; 95% CI: 0.72, 0.90) และร้อยละ 24 (RR = 0.76; 95% CI: 0.66, 0.88) ตามลำดับ ทั้งนี้ยา clodronate, etidronate และ ibandronate ยังมีข้อมูลงานวิจัยที่จำกัด และยังพบว่ายากลุ่มบิสฟอสโฟเนตช่วยป้องกันการเกิดกระดูกหักได้ทั้งบริเวณกระดูกสันหลัง (RR = 0.57; 95% CI: 0.50,0.64) และบริเวณที่มิใช่กระดูกสันหลัง (RR = 0.81 ; 95% CI: 0.76,0.87) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม  สรุป: ผลการศึกษาที่ได้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนประสิทธิผลของยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตในการป้องกันการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ อย่างไรก็ตาม ยา clodronate, etidronate และ ibandronate  ยังมีข้อมูลจากการศึกษาไม่มากพอ จึงควรศึกษาเพิ่มเติมต่อไป คำสำคัญ: ประสิทธิภาพ, กระดูกหัก, โรคกระดูกพรุน, หญิงวัยหมดประจำเดือน, ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-06-27