The Relationship between Knowledge and Use Behavior of Polypharmacy or Ya Chud in a Community in Srisaket Province

Authors

  • Natsasi Wisetmuen
  • Natthaya Boonmark
  • Saowanee Lasou

Abstract

Objective: To determine level of knowledge and use behavior on polypharmacy (or Ya Chud) and the relationship between knowledge and the use behavior. Medthods: In this descriptive survey, study sample was 172 people residing in Ban Poe, Poe sub-district, Muang district, Srisaket province, Thailand recruited by simple random sampling method. We used questionnaires on knowledge and use behavior (20 items each). Results were presented by descriptive statistics including frequency with percentage and mean with standard deviation. Relationship between use behavior and demographic characteristics was examined by Chi-square test and that between knowledge and use behavior was test by Pearson’s product moment correlation. Results: Knowledge was found in a low level (41.66%) and use behavior a moderate level (mean = 2.6 of 5 points). No relationships between demographic characteristics and use behavior. Knowledge and use behavior was significantly positively correlated (r = 0.182, P-value < 0.05). Conclusion: People in Ban Poe, Poe sub-district, Srisaket province, had a low level of knowledge and a moderate level of use behavior. Even though there was a positive relationship between knowledge and use behavior, an awareness could be missed. Thus educational program or campaign to promote knowledge and proper use of Ya Chud should be developed. Keywords: knowledge, consumption behavior, polypharmacy, Ya Chudบทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระดับความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติใช้ยาชุด และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมดังกล่าว วิธีการศึกษา: การศึกษาสำรวจแบบพรรณา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรบ้านโพธิ์ ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษจำนวน 172 คน โดยวิธีสุ่มแบบง่าย ใช้แบบสอบถามประเมินความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาชุด (อย่างละ 20 ข้อ) นำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ความถี่พร้อมร้อยละ และค่าเฉลี่ยพร้อมส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้กับลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้วย Chi-square test และระหว่างพฤติกรรมการใช้กับความรู้ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในระดับต่ำ (ตอบถูกต้อง 41.66%) และมีพฤติกรรมในการใช้ยาชุดระดับปานกลาง (2.6 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่าพฤติกรรมการใช้ยาชุดไม่สัมพันธ์กับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของตัวอย่าง พบว่าความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาชุดด้วยสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) เท่ากับ 0.182, P-value < 0.05) สรุป: ประชาชนบ้านโพธิ์ ต.โพธิ์ มีความรู้เรื่องการใช้ยาชุดที่ต่ำ และมีพฤติกรรมการใช้ยาชุดระดับปานกลาง แม้ความสัมพันธ์เชิงบวกจะชี้ว่าความรู้มากก็มีพฤติกรรมการใช้มาก แต่อาจเป็นเพราะยังขาดความตระหนัก ดังนั้น การให้ความรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมก็ยังจำเป็น คำสำคัญ: ความรู้, พฤติกรรมการบริโภค, ยาชุด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-05-27