การวิเคราะห์ดัชนีเชิงเหตุของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ดัชนีเชิงเหตุของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาดัชนีเชิงเหตุของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทย 2) เพื่อศึกษาดัชนีเชิงผลของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทยตามการรับรู้ของพ่อแม่ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลตามการรับรู้ของพ่อแม่และ ตามการรับรู้ของบุตรธิดา และ 4) เพื่อศึกษาดัชนีเชิงผลของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทย ตามการรับรู้ของบุตรธิดา กลุ่มตัวอย่าง เป็นพ่อแม่ของเยาวชนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 105 คน เป็นพ่อ จำนวน 51 คน และแม่ จำนวน 54 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจากประชากร และเป็นเยาวชนที่เป็นบุตรธิดาของพ่อแม่ในครอบครัวเดียวกัน จำนวน 88 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจากประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดที่ใช้ในการศึกษาดัชนีเชิงเหตุของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลมีความเที่ยงตรงของแบบวัดแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.681-0.953 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวแปรเชิงเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทยมีจำนวน 1 ตัวแปร ได้แก่ จิตลักษณะของพ่อแม่ มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิผลทางบวกเท่ากับ 0.95 ส่วนตัวแปรเชิงเหตุที่เป็นปัจจัยภายในครอบครัว มีอิทธิผลทางตรงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.32 นอกจากนี้ ตัวแปรเชิงเหตุที่เป็นปัจจัยทางสังคม มีอิทธิพลทางลบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ -0.28 และตัวแปรเชิงเหตุทั้ง 3 ตัวแปรดังกล่าวข้าวต้น ร่วมกันอธิบายการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลตามการรับรู้ของพ่อแม่ได้ร้อยละ 89 2) ตัวแปรเชิงเหตุ การเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทยตามการรับรู้ของพ่อแม่ มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่อตัวแปรเชิงผล ซึ่งได้แก่ จิตลักษณะและพฤติกรรมของบุตรธิดา และการรับรู้ของบุตรธิดาเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของพ่อแม่ด้านการอบรมเลี้ยงดู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.53 และ 0.46 ตามลำดับ 3) การเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลด้านการทำหน้าที่ของพ่อแม่ ด้านสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่และบุตรธิดาและด้านการบริหารจัดการปัญหา ตามการรับรู้ของพ่อแม่ และตามการรับรู้ของบุตรธิดา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.25-0.56 4) ตัวแปรเชิงเหตุของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทยตามการรับรู้ของบุตรธิดามีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่อตัวแปรเชิงผล ซึ่งได้แก่ จิตลักษณะและพฤติกรรมของบุตรธิดาและการรับรู้ของบุตรธิดาเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของพ่อแม่ด้านการอบรมเลี้ยงดู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.56 และ 0.54 ตามลำดับ คำสำคัญ: การเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล ครอบครัวไทย ABSTRACT The purpose of this research study was to analyze effective parenting path indicators in Thai Families. The study included four objectives. First, to analyze the antecedent indicators of the effective parenting perceived by parents. Second, to analyze the consequent indicators of the effective parenting perceived by the parents. Third, to analyze the relationships between the effective parenting perceived by the parents and perceives by their children. Fourth, to analyze the antecedent indicator of the effective parenting perceived by the children. The subjects of the study were 105 parents (51 fathers and 54 mothers) and their 88 children. They were criterion selected from population. The research scales designated the effective parenting path indicators in the Thai families were developed. The scales utilized a five-point Likert scale for each of the items. The reliabilities of the scales ranged from 0.681-0.953 The data were analyzed by Path analysis. The research results were as follows: 1) The parents’ psychological characteristics, an influential antecedent variable, indicated significant direct effects on the effective parenting perceived by the parents at .01 level with path coefficient of 0.95 while the other antecedent variables, i.e., the internal family factor revealed non-significant direct effects on the effective parenting with path coefficient of 0.32 and the social factor revealed non-significant negative effects on the effective parenting with path coefficient of -0.28. The stated antecedent variables significantly predicted the effective parenting at .01 level, with 89% of variability in effective parenting from the stated variables 2) The effective parenting perceived by the parents, an influential antecedent variable indicated significant direct effects on consequent variables, i.e., the children’s psychological characteristics and behavior and the children’s perception on parental child-rearing at .01 level with path coefficients of 0.53 and 0.46 respectively. 3) Significant positive relationships were found between the effective parenting in Thai families perceived by the parents and perceived by their children at .01 level. 4) The effective parenting perceived by the children, an influential antecedent variable, indicated significant direct effects on the consequent variables, i.e. “the children’s psychological characteristics and behavior” and “the children’s perception of their parental child-rearing at .01 level with path coefficients of 0.56 and 0.54 respectively”. Key words: Effective Parenting, Thai Families
Article Details
How to Cite
วรเจริญศรี ส., & เกิดพิทักษ์ ผ. (2017). การวิเคราะห์ดัชนีเชิงเหตุของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9838
Section
บทความวิจัย (Research Articles)