กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่1แบ่งเป็น2ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการจำนวน339คนโดยวิธีการสุ่มกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเทียบจำนวนจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน และวิธีการสุ่มแบบแบบชั้นภูมิ (Stratified Random sampling) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพแวดล้อมจุดแข็ง-จุดอ่อนโอกาสภาวะคุกคาม-อุปสรรคของการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 16 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์บริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1 ร่างและประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยวิธีการ Focus Group กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบประเมินและแบบบันทึกสถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น PNI ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็กเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.07) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็กเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ( =4.29) ในภาพรวมค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็ก ( =4.29) สูงกว่าสภาพปัจจุบัน ( =3.07) และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 0.39 2. กลยุทธ์ของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 35 กลยุทธ์รองและ 56 วิธีดำเนินงานได้แก่กลยุทธ์1กลยุทธ์การพัฒนาสูตรสถานศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์รองกลยุทธ์ 2 กลยุทธ์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในประกอบด้วย 8 กลยุทธ์ รองกลยุทธ์ 3 กลยุทธ์การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาประกอบด้วย 6 กลยุทธ์รอง กลยุทธ์ 4 กลยุทธ์การนิเทศการศึกษาประกอบด้วย 6 กลยุทธ์รองและกลยุทธ์ 5 กลยุทธ์การวัดผลและประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนประกอบด้วย 7 กลยุทธ์รองสำหรับผลการประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกลยุทธ์ฯอยู่ในระดับมากคำสำคัญ : กลยุทธ์ การบริหารวิชาการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ABSTRACT The objective of this research was to develop academic administration strategies to improve the educational quality in small basic institutions.The research was conducted in two phases.The first phasewas divided in to two steps. Step 1 was to study current and desired situation. The sample was 339 administrators and head so facademic department in institutions whomwere randomly chosen. Step 2 was to study surrounding, strengths and weaknesses, threats, and difficultie so facademica dministration by interviewing 16 of the sample who were purposively selected. The second phase of the study focused on developing the academic administ ration strategies for improving the educational quality in small basic in stitutions. It was divided in to two steps. First, the academic administration strategies were drafted and evaluated based on the information from 12 experts selected by purposive sampling. Second, the appropriateness and feasibility of the strategies were validated by 9 experts who were purposively chosen to perform a focusgroup discussion. The instruments used for data collection were the survey, the structuralin terview, and the evaluation form. The statistics used were means, standard deviation, and modified priority need sindex (PNI). The research findings were as follows. 1. Mean sof the current situation of academic administration in small in stitutions under Primary Educational Service Area was at a medium ( = 3.07), while mean sof the desirable situation were at high level ( =4.29). Overall, mean of desired situation of academic administ rationinsmall in stitutions ( =4.29) was higher than the current situation ( =3.07). In addition, PNI was at high level as well (0.39). 2. The strategie sofa cademic administration to improve the educational quality in small basic in stitutions consisted of 5 major strategies, 35 minor strategies, and 56 methodologies: 1) the strategy of curriculum and learning development in cluding 8 minor strategies, 2) the strategy of educational quality assurance development in cluding 8 minor strategies, 3) the strategy of research for educational quality in side the institutions including 6 minor strategies, 4) the strategy of supervision in cluding 6 minor strategies, and 5) the strategy of educational measurement, evaluation, and credit transfer including 7 minor strategies. For the result, it revealed that the appropriateness sand feasibility of the strategies were at high level. Keywords : Strategies, Academic Administration, Developing Educational Quality
Article Details
How to Cite
ธรรมทัศนานนท์ ส. (2017). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9207
Section
บทความวิจัย (Research Articles)