การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงศ์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 260 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 3 การตรวจสอบยืนยันและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 4 การนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินฯ แบบทดสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติทีใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index) PNI การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 32 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) ความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 2) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จำนวน 5 ตัวบ่งชี้  3) การบูรณาการ จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 4) การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการปฏิบัติงาน จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 5) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 6) การเรียนรู้เป็นทีม จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ผลการประเมินฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก( 3..55 ) 2. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 3.52) และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.62) ความต้องการจำเป็นด้านที่มีค่าสูงที่สุดคือ ความคิดสร้างสรรค์ รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และ การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการปฏิบัติงาน 3. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย        1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรมการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผลมี 6 โมดูล คือ 1) ความคิดสร้างสรรค์ 2) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) การบูรณาการ 4) การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการปฏิบัติงาน 5) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 6) การเรียนรู้เป็นทีม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( 3.50) 4. การนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้พัฒนากลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 4.1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบของผู้บริหารสถานศึกษาก่อน-หลังการใช้โปรแกรมฯ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนใช้โปรแกรมฯ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.2 การวิเคราะห์ความพึงพอใจ โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.61) คำสำคัญ:  โปรแกรมพัฒนา ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   ABSTRACT The purposes of this research were to: 1) study learning factors and indicators on learning leadership of basic school administrators, 2) study current and desirable characteristics on learning leadership of basic school administrators, 3) develop a strengthening learning leadership program of basic school administrators, and 4) study results of implementing the program to basic school administrators.  The study was divided into 4 phases. The first phase, studying learning factors and indicators on learning leadership of basic school administrators,   7 experts were selected using the purposive sampling in order to identify the learning leadership factors and indicators of basic school administrators. The second phase, studying current and desirable characteristics on learning leadership of basic school administrators, researcher used the stratified random sampling to select 260 basic school administrators as the samples. The third phase, developing a strengthening learning leadership program of basic school administrators, researcher investigated 9 experts using purposive sampling method to verify and confirm the program. The last phase, studying results of implementing the program to basic school administrators, researcher implemented the program with 10 volunteered school administrators. In order to coolect data; Mean, Standard Deviation, PNI, questionnaires, semi-structure interview, focus group discussion, and model of assessment were used as research tools. The data were then collected using both qualitative and content analysis. The results showed that; 1. Learning factors and indicators on learning leadership of basic school administrators were at high level.  There were 6 factors and 32 indicators on learning leadership of basic school administrators as followed; 1) Creativity with 6 indicators, 2) Conducive learning environments with 5 indicators, 3) Integration with 5 indicators, 4) Implementing high technology to work with 6 indicators, 5) Self-directed learning with 5 indicators, and 6) Team - learning with 5 indicators. 2. The current characteristics on learning leadership of basic school administrators were at high level and the desirable characteristics were at the highest level. The highest PNI was the Creativity and next were the Conducive learning environments and the Implementing high technology to work. 3. Developing a strengthening learning leadership program of basic school administrators, the result was at high level of appropriateness. The program consisted of principle, purpose, content, development activities, and measurement and evaluation which included Creativity, Conducive learning environment, Integration, Implementing high technology to work, Self-directed learning, and Team- learning modules. 4. The results of implementing the program to basic school administrators showed that: 4.1 The test scores of the samples after implementing the program were statistically higher than before at .01 level of significance. 4.2 The overall school administrators’ satisfaction analysis on the program was at the highest level.   Keywords: Developmental Program, Learning Leadership, Basic Education

Article Details

How to Cite
ธรรมทัศนานนท์ ส. (2018). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11052
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)