การพัฒนาระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะ และการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ ศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่สำคัญ คือ นิเทศการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ 3) เพื่อพัฒนาระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ 4) เพื่อประเมินผลการใช้ระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประเมินองค์ประกอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสรุปความคิดเห็นเพิ่มเติมและปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์กลุ่มตัวอย่างเป็นศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 291คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์หาค่าดัชนีลำดับความสำคัญจำเป็น (Modified Priority Needs Index) ระยะที่ 3 พัฒนาระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เครื่องมือได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและระยะที่ 4 ประเมินผลการนำระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ไปใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นศึกษานิเทศก์ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 6 คน และประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดจุดมุ่งหมายการนิเทศ 2) บุคลากรนิเทศ 3) วิธีนิเทศ 4) ความรู้วิชาการ 5) เครื่องมือนิเทศ และ 6) การประเมินผล 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์พบว่า สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับน้อย ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับปานกลาง 3. ระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ประกอบด้วย ด้านปัจจัย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายการนิเทศ 2) บุคลากรนิเทศ 3) ความรู้วิชาการ 4) เครื่องมือนิเทศ ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย วิธีนิเทศมี 7 ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การเตรียม 2) การวิเคราะห์ 3) ตั้งเป้าหมาย 4) กำหนดบทบาท 5) การฝึกปฏิบัติ 6) การสื่อสาร 7) การสรุปและสะท้อนผล ด้านผลผลิต ได้แก่ การประเมินผล ประกอบด้วย 1) ความรู้ความเข้าใจในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ของศึกษานิเทศก์ 2) ความสามารถในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ของศึกษานิเทศก์ 4. ผลการนำระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการจัดการเรียนรู้การสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 22.60 มีความพึงพอใจต่อความสามารถการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: ระบบการนิเทศการนิเทศการจัดการเรียนรู้ การสอนแนะ การเป็นพี่เลี้ยงครู ABSTRACT Supervision of systematic learning management through teacher Coaching and mentoring to manage learning effectively Is an important role of educational Supervisor. The purposes of this research were. 1) to study components of system of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisor. 2) to study of current situation and desirable characteristics of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring. 3) to developed of system of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring. 4) to evaluate by using of system of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring. The research is divided into 4 phases: Phase 1, The Component of Learning Management Supervision through Teacher Coaching-Mentoring with Supervisor. Conducted with review literature and evaluating the components by 5 experts who have come by choosing a Purposive Sampling. Research tools is aIn-depth interview Analyze data by finding the mean and standard deviation, Phase 2: study current conditions and desirable conditions, supervision of learning management according to instructional concepts and teacher mentoring for supervisors, The sample group were 291 educational supervisors from the Northeastern Educational Service Area Office. This was a randomized, multi-stage. Tools used include Questionnaire, current condition and desirable condition, data analysis by finding the mean and standard deviation and analysis of the priority index, Phase 3 Develop learning management supervision system through Teacher Coaching and mentoring with supervisors. The sample group consisted of 9 qualified persons. Conduct the Focus Group. Tools include Depth interview, in-depth analysis of data from in-depth interviews and phase 4, evaluating the implementation of learning management supervision system through coaching and mentoring for supervisors. The sample group consisted of 6 supervisors and 12 participants of the research team and evaluated the satisfaction of the stakeholders. The tools used for collecting data were the interview form, the test form and the satisfaction assessment form. Analyze data by finding mean and standard deviation and percent. Research results were as follows: 1. The Component of Learning Management Supervision through Teacher Coaching-Mentoring with Supervisor. Consisted of Input consisted of 1) Objective of supervision 2) Person of supervision 3) Method of supervision 4) Knowledge of academic 5) Supervision instrument. 6) evaluation 2. The current situation and expectation of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisors as a whole minimum level and expectation overall as moderately level. 3. The Learning Management Supervision system through Teacher Coaching-Mentoring consisted of Input consisted of 1) Objective of supervision 2) Person of supervision 3) Knowledge of academic 4) Supervision instrument. Process consisted of supervision mythology consisted of 1) Preparation 2) Analysis 3) Goal setting 4) Function 5) Practice 6) Communication and 7) Reflective and Evaluation. Output consisted of 1) Knowledge and understanding of supervision learning management with supervisors.2) The ability of supervise learning management with supervisors. 4. The implementing of Learning Management Supervision system through Teacher Coaching-Mentoring was found that the sample group has more knowledge 22.60 percentage and the satisfaction with the supervision ability of supervisory learning management at the highest level. Keywords: Supervision System, Learning Management Supervision, Teacher Coaching, Teacher Mentoring
Article Details
How to Cite
พันธะลี ส., & ธรรมทัศนานนท์ ส. (2019). การพัฒนาระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะ และการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11833
Section
บทความวิจัย (Research Articles)