รูปแบบการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Authors

  • ลลิตา ธงภักดี
  • สุนทรา โตบัว
  • พิกุล เอกวรางกูร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ ศึกษาสิ่งที่เป็นความต้องการจำเป็นในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และเพื่อพัฒนารูปแบบในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพ การวิจัยของอาจารย์ที่เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และเพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย       ราชภัฏนครราชสีมา การวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาและสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพวิจัยของอาจารย์ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์ และขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาไปใช้และศึกษาผลการวิจัย พบว่า         1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้แก่ บรรยากาศที่ส่งเสริมการวิจัย แหล่งข้อมูล อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก เงินทุนสนับสนุนการวิจัย แนวปฏิบัติที่เอื้อต่อการวิจัย และการพัฒนาความรู้และความสามารถด้านการวิจัย   2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประกอบด้วย การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการวิจัย การสร้างความตระหนักด้านการวิจัย การพัฒนาสมรรถภาพการวิจัย การสร้างทีมและเครือข่ายการเรียนรู้ ด้านการวิจัย และการนิเทศและติดตามให้ความช่วยเหลือด้านการวิจัย 3) ผลการนำรูปแบบการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์ไปใช้ พบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่  มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวิจัย (Mean = 4.55, S.D. = 0.51) ระดับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์กับการวิจัยของอาจารย์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.70, S.D.=0.47) อาจารย์มีสมรรถภาพ  การวิจัยที่อยู่ในระดับดีถึงดีมาก มีกลุ่มวิจัยวิจัยเกิดขึ้น จำนวน 5 กลุ่ม และมีประเด็นวิจัยหลังจากที่มีการรวม  กลุ่มวิจัยเกิดขึ้น จำนวน 8 ประเด็น อาจารย์มีความพึงพอใจโดยรวมต่อระบบการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยของคลินิกวิจัย และการจัดประชุมติดตามความก้าวหน้างานวิจัยในระดับมากที่สุด(Mean = 4.85, S.D. = 0.36) คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาปัจจัย ปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัย ผลิตภาพการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Downloads

How to Cite

ธงภักดี ล., โตบัว ส., & เอกวรางกูร พ. (2015). รูปแบบการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6578

Most read articles by the same author(s)