การถอดบทเรียนการเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน THE LESSON LEARNED TO ORGANIZATIONS OF TEACHER STUDENTS OF PATUMWAN DEMONSTRATION SCHOOL

Main Article Content

ชีวัน เขียววิจิตร
เกดิษฐ์ จันทร์ขจร
ประภารัตน์ ธิติศุภกุล
คณาภรณ์ รัศมีมารีย์
นันทวรรณ ชื่นชมคุณาธร
อภิณห์พร ฤกษ์อนันต์
อัญชฏา พัวไพบูลย์
สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ

Abstract

การวิจัยเรื่อง การถอดบทเรียนการเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน 2) สะท้อนบทเรียนจากประสบการณ์การเป็นครูพี่เลี้ยงของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน 3) นำเสนอแนวทางในการกำหนดนโยบายวางแผนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การถอดบทเรียนการเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กลุ่มเป้าหมายคือ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์การทำงาน 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจในบริบทของโรงเรียน และเป็นครูพี่เลี้ยงของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวข้องและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสะท้อนบทเรียนจากประสบการณ์การเป็นครูพี่เลี้ยงของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้แทนที่คัดเลือกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน 3 ปีขึ้นไป และเคยผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ แนวทางการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทครูพี่เลี้ยง คือ การทำหน้าที่เป็นแบบอย่างให้นิสิต ถ่ายทอดเทคนิคการสอน การจัดการเรียนรู้ การเขียนแผนพร้อมตรวจสอบเนื้อหา การปกครองชั้นเรียน การสร้างศรัทธา เจตคติ จรรยาบรรณในวิชาชีพครู เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความเป็นครู มอบความรักความใส่ใจเป็นกันเอง สร้างปฏิสัมพันธ์กับนิสิต มีความยืดหยุ่น ส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือและให้โอกาส มีเวลาให้กับนิสิตในการให้คำปรึกษา คำแนะนำ แก้ไขปัญหาการประพฤติปฏิบัติของนิสิตทั้งการสอนและเรื่องส่วนตัว 2) ระบบการนิเทศ มีกระบวนการการนิเทศที่หลากหลาย โดยครูพี่เลี้ยงที่มีทักษะประสบการณ์การสอน ถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการเขียนแผนและการสอนเป็นต้นแบบ ใช้รูปแบบการชี้แนะและให้คำปรึกษา มีการพูดคุยกับนิสิตถึงสภาพปัญหาและร่วมกันแก้ไข3) การพัฒนานิสิต ประกอบด้วย การพัฒนาสมรรถนะการจัดการสอนก่อนการฝึกและระหว่างฝึกเพื่อให้นิสิตมี ความพร้อมสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ โดยมีครูพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแลการจัดการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด คุณลักษณะที่นิสิตพึงมีคือ ความรู้ในเนื้อหาสาระวิชาที่แม่นยำ มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ การปฏิบัติงานต้องรู้บทบาทหน้าที่และอยู่ในกฎระเบียบข้อบังคับ รวมถึงมีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตสำนึกของความเป็นครูและสามารถยืดหยุ่นได้ตามยุคสมัย 4) การดำเนินงานของศูนย์ฝึกฯ กระบวนการรับนิสิตมีการมอบหมายแบ่งหน้าที่ตามสายงาน มีการประสานงานติดตามระหว่างฝึก การทำข้อตกลงเกี่ยวกับเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ระหว่างกลุ่มสาระฯและต่างกลุ่มสาระฯ 5) แนวทางการกำหนดนโยบายวางแผนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบด้วย ผลิตและพัฒนาครู พัฒนาหลักสูตร งานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา บริการวิชาการ ส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทย วางแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ มีธรรมาภิบาล

Article Details

How to Cite
เขียววิจิตร ช., จันทร์ขจร เ., ธิติศุภกุล ป., รัศมีมารีย์ ค., ชื่นชมคุณาธร น., ฤกษ์อนันต์ อ., พัวไพบูลย์ อ., & ภูรีปรีชาเลิศ ส. (2024). การถอดบทเรียนการเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน: THE LESSON LEARNED TO ORGANIZATIONS OF TEACHER STUDENTS OF PATUMWAN DEMONSTRATION SCHOOL. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 211–228. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16437
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

จุฑารัตน์ สถิรปัญญา. (2564). การถอดบทเรียน แนวคิดและการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการ สุขภาวะ. สงขลา : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชวนพิศ อัตเนตร และคณะ. (2563). การบูรณาการการโค้ช การศึกษาชั้นเรียนและการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการเสริมสร้างสมรรถภาพการฝึกปฏิบัติการสอนสำหรับนักศึกษาครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 9(1), 288-300.

ชีวัน เขียววิจิตร และคณะ. (2560). กระบวนการพัฒนาต้นแบบครูพี่เลี้ยงของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18(1), 198-213.

ชีวัน เขียววิจิตร และคณะ. (2566). การพัฒนาระบบศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18(1), 162-177.

นิคม สุวพงษ์. (2565). การถอดบทเรียน: เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์. 7(1), 47-60.

ปารณีย์ ขาวเจริญ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยวิธีการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงของครูพี่เลี้ยงนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 19(1), 125-136.

มงคลชัย วิริยะพินิจ. (2560). องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ส่องสยาม.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2564). ทิศทางการผลิตครูประถมศึกษาของประเทศไทยที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ครูกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์. 32(3), 71-85.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. (2561). วิทยนิเทศ พุทธศักราช 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. กรุงเทพฯ: เพจเมคเกอร์.

วรวิทย์ วศินสรากร. (2552). การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วาสนา เพ็งทองหลาง. (2556). ความพึงพอใจของหัวหน้าสถานประกอบการเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาที่มีต่อ การปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สายฝน แสนใจพรม, นํ้าผึ้ง อินทะเนตร. (2560). บทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 11(3), 133-146.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). พัฒนารูปแบบการผลิตครูสำหรับการศึกษายุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 35(3), 101-136.

Garfield, S. (2018). Knowledge Management. Retrieved December 1, 2020, from https://stangarfield.- medium.com/lessons- learned- process-dbc5743fb99b

Most read articles by the same author(s)