การพัฒนาระบบศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน THE DEVELOPMENT OF STUDENT TEACHER CENTER SYSTEM OF PATUMWAN DEMONSTRATION SCHOOL

Main Article Content

ชีวัน เขียววิจิตร
พงศพิชญ์ แก้วกุลธร
พีรนุช ธีรอรรถ
พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์
พงศธร นันทธเนศ

Abstract

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการระบบศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน 2) เพื่อพัฒนาระบบศูนย์ฝึกฯ และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบศูนย์ฝึกฯ วิธีดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของระบบศูนย์ฝึกฯ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบศูนย์ฝึกฯ โดยการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลในระยะที่ 1 และผลการสนทนากลุ่ม พร้อมทั้งสร้างคู่มือการใช้ระบบศูนย์ฝึกฯ ระยะที่ 3 การหาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของระบบศูนย์ฝึกฯ มี 2 ขั้นตอน 1) การหาประสิทธิภาพโดยการทดลองใช้ระบบศูนย์ฝึกฯ กับครูพี่เลี้ยงผ่านโครงการฝึกอบรมศักยภาพครูพี่เลี้ยง วัดความรู้ของครูพี่เลี้ยง และสอบถามความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อระบบศูนย์ฝึกฯ 2) การหาประสิทธิผลของระบบศูนย์ฝึกฯ ทำโดยการให้ครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการฝึกอบรมไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนิสิต ประเมินความสามารถของนิสิตและความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของครูพี่เลี้ยง
ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างระบบศูนย์ฝึกฯ ประกอบด้วยงาน 4 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายงานวิจัยทางการศึกษา 2) ฝ่ายงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) ฝ่ายงานนิเทศและพัฒนาวิชาชีพครู 4) ฝ่ายสำนักงานวิจัย นิเทศและฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งแต่ละฝ่ายมีผู้รับผิดชอบและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน ผลการหาประสิทธิภาพของระบบศูนย์ฝึกฯ ได้ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 84.13 และประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 84.17 แสดงว่าระบบศูนย์ฝึกฯ สามารถนำไปใช้งานได้ คู่มือการใช้ระบบศูนย์ฝึกฯ ที่สร้างขึ้นมีผลการประเมินอยู่ในระดับมีคุณภาพมากที่สุด และครูพี่เลี้ยงมีความพึงพอใจต่อระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การหาประสิทธิผลของระบบศูนย์ฝึกพบว่า นิสิตที่ผ่านการฝึกจากครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการฝึกอบรมมีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการฝึกประสบการณ์ของครูพี่เลี้ยงตามระบบที่พัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
เขียววิจิตร ช., แก้วกุลธร พ., ธีรอรรถ พ. ., เสริมพงษ์พันธ์ พ. ., & นันทธเนศ พ. (2023). การพัฒนาระบบศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน: THE DEVELOPMENT OF STUDENT TEACHER CENTER SYSTEM OF PATUMWAN DEMONSTRATION SCHOOL. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 162–177. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15235
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2564). แผนกลยุทธ์ 4 ปี (พ.ศ. 2564 - 2567). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จารุณี อินต๊ะสอน. (2562). ทัศนคติด้านระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ส่งผลต่อความประทับใจในการบริการการศึกษาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. รายงานการวิจัยทุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชีวัน เขียววิจิตร. (2560). กระบวนการพัฒนาต้นแบบครูพี่เลีย้ งของนิสิตฝึ กประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18(1), 198-213.

เด่นชัย สมปอง. (2557). การพัฒนาระบบบริหารจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยอาศัยเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6(11), 65-80.

นววรรณ ถกจัตุรัส. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นิศาชล วุฒิสาร. (2556). การพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียนคลองขามวิทยาคาร อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา. 10(50), 123-132.

บุญเกื้อ ครุธคำ. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปัฐมาภรณ์ อุทัยอมฤตวารี. (2551). รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตภูมิวิทยา. สงขลา: โรงเรียนรัตภูมิวิทยา.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). e-book หนังสือพูดได้. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์.

ภิญโญ โพธิ์กลาง. (2551). การพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียนบ้านโนนทอง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รักชนก โสภาพิศ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เล็กฤทัย ขันทองชัย. (2561). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอนในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกสอน กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8(2), 15-30.

วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2554). การประเมินและการทดสอบประสิทธิภาพสื่อการสอน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หน่วยที่ 15.5). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิลป์ชัย พูลคล้าย. (2562). การพัฒนาระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สุเทพ ไชยวุฒิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2560). การบริหารจัดการระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะ

ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “นวัตกรรมสร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0” มหาวิทยาลัยนครพนม.

อกนิฏฐ์ นิติวิสิฏฐากร. (2553). การพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลสวนสนุกเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Barbara G. (2006). “Conditions for successful Field Experiences: Perceptions of Cooperation Teacher” Teaching and Teacher Education: An International Journal of research and Studies. 20(8), 1118-1129.

Barney, J. B. (2012). Purchasing, supply chain management and sustained competitive advantage: The relevance of resource‐based theory. Journal of Supply Chain Management, 48(2), 3-6.

Eggert, A., Thiesbrummel, C., & Deutscher, C. (2015). Heading for new shores: Do service and hybrid innovations outperform product innovations in industrial companies?. Industrial Marketing Management, 45, 173-183.

Most read articles by the same author(s)