ความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยของประชาชนและผู้นำชุมชน ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

มะแอ เย็ง
ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น
ฐะปะนีย์ เทพญา

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สารสนเทศสาธารณภัยของประชาชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานี โดยจำแนกตามตัวแปรที่ศึกษาคือ เพศ อายุ ระดับการศึกษาอาชีพ ที่อยู่อาศัย และประสบการณ์ด้านสาธารณภัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน399 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายและเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก และกลุ่มผู้นำชุมชนจำนวน 37 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-testการวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ของเชฟเฟ่ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านเนื้อหาสารสนเทศ ด้านวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศ ด้านแหล่งสารสนเทศ และด้านประเภทตามลำดับส่วนปัญหาอุปสรรคการใช้สารสนเทศของกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้นำชุมชน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางและระดับน้อย เมื่อเปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยของประชาชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลในจังหวัดปัตตานี จำแนกตามตัวแปรพบว่า กลุ่มประชาชนทั่วไปมีความต้องการสารสนเทศ ปัญหาและอุปสรรคการใช้สารสนเทศสาธารณภัย โดยรวมไม่แตกต่างกัน และพบว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความต้องการสารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และกลุ่มผู้นำชุมชนมีความต้องการสารสนเทศและมีปัญหาและอุปสรรคการใช้สารสนเทศสาธารณภัยโดยรวมไม่แตกต่างกัน AbstractThis research purposed to study and compare needs, problems and obstacles of thepublic hazard information of citizens and leaders of the community in coastal zone in Pattani.The variables consisted of gender, age, education, occupation, residence and experience inpublic hazard. The two sample groups consisted of 399 people and 37 community leaders, usingsimple random sampling and convenience sampling methods. The instrument of research wasa questionnaire. Using techniques of descriptive statistics, the data collected were analyzedin terms of frequencies, percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis testing wasconducted using the independent samples t-test and F-test (one-way analysis of variance[ANOVA]) with results being obtained at the statistically significant of .05.Regarding the result, the needs of the two sample group toward public hazardinformation in overall and perspectives were in the high level. The perspectives were composedof information content, objectives of using the information, information source and type of theinformation, respectively. In terms of problems and obstacles in using the information of generalpeople and community leaders in overall and perspectives are in the medium and low levels,comparing to the needs of people and community leaders in Coastal Zone in Pattani Province.According to the variables, the needs, problems and obstacles of general people in overall arenot different. The education is different with statistical significance at .05. Similarly, the needs,problems and obstacles of community leaders in overall are not different.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เย็ง ม., แซ่ฉั่น ช., & เทพญา ฐ. (2017). ความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยของประชาชนและผู้นำชุมชน ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานี. บรรณศาสตร์ มศว, 9(2), 17–33. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/8391
Section
Research Articles