การพัฒนาความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคชี้นำการอ่าน SQRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA DEVELOPMENT OF READING LITERACY OF PRIMARY 6 STUDENTS BY USING SQRC GUIDED READING TECHNIQUE COMBINED WITH SKILL EXERCISES ACCORDING TO PISA TEST GUIDELINES

Main Article Content

เกศศินี ทาระเนตร์
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA ในการพัฒนาความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคชี้นำการอ่าน SQRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน โดยใช้เทคนิคชี้นำการอ่าน SQRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) จังหวัดแพร่ จำนวน 39 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ใช้เวลาทดลอง 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA มีค่าประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 82.17/81.03 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคชี้นำการอ่าน SQRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน โดยใช้เทคนิคชี้นำการอ่าน SQRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X=4.41, S.D.=0.61)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทาระเนตร์ เ., & องอาจวาณิชย์ น. . (2024). การพัฒนาความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคชี้นำการอ่าน SQRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะตามแนวทางการทดสอบ PISA: DEVELOPMENT OF READING LITERACY OF PRIMARY 6 STUDENTS BY USING SQRC GUIDED READING TECHNIQUE COMBINED WITH SKILL EXERCISES ACCORDING TO PISA TEST GUIDELINES. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 81–97. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16033
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

งานทะเบียนและวัดผล โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล). (2565). รายงานการทดสอบความสามารถด้านการอ่านและเขียน ประจำปีการศึกษา 2565 [รายงานการทดสอบ]. แพร่: โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล).

จิราพร บุดอ้วนดี. (2564). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนประโยคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัวงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร) สืบค้นจาก https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/file_att1/2022060661421247118_fulltext.pdf

โฉมฉาย ใจเอื้อย. (2564). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม) สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3809

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

นิรัตติยากร กอแก้ว. (2563). การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) ตามแนวทางการประเมินของ PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร) สืบค้นจาก https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=60421249141

ปิยฉัตร ศรีสุราช. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง จังหวัดตราด (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี) สืบค้นจาก https://etheses.rbru.ac.th/showthesis.

php?theid=289&group=19

ภิรมย์ญา สุธรรม, ไพสิฐ บริบูรณ์, และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2559) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกลวิธีชี้นําการอ่านและการคิด ชั้นมัธยมศึกษาปี 2. วิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.8(22), 91-100. สืบค้นจาก https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=224

รัตนาภรณ์ ทับทิมจันทร์. (2565). การสร้างแบบฝึกทักษะโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก) สืบค้นจาก https://nuir.lib.nu.ac.th

/dspace/handle/123456789/5652

วิทยากร เชียงกูล. (2552). ประเทศที่ประชาชนไม่ชอบอ่านหนังสือไม่มีทางจะไปสู้ใครได้. บรรณศาสตร์ มศว. 2(1), 1-6. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/171441

ศุภฤกษ์ ตันติวิริยากร. (2562). การพัฒนาแบบฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านตามแนวทางการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม) สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2688

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/reading-literacy/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563, 16 ธันวาคม). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). คู่มือการเรียนการสอนการอ่านคิดวิเคราะห์สู่การพัฒนาการอ่านตามแนวทาง PISA. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2551). การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียน. สุพรรณบุรี: ม.ป.พ.

สุนารี ฝีปากเพราะ. (2563). การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก) สืบค้นจาก https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2565

Tawali. (2020). The Effect Of Sqrc (State Question Read Conclude) Technique Towards Students’ Reading Comprehension. Journal Ilmu Sosial dan Pendidikan, 4(3), 595-604.

Sakta. (1999). SQRC: A Strategy for Guiding Reading and Higher Level Thinking. Journal of Adolescent & Adult Literacy, 42(4), 265-269.