การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา FACTOR ANALYSIS OF ONLINE LEARNING FOR ELEMENTARY STUDENTS

Main Article Content

นันท์นลิน สีแก่นวงค์
อาภรณ์ สอาดเอี่ยม

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ โดยทำการหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอล (Orthogonal) ด้วยวิธีแวร์แมกซ์ (Varimax) ใช้เกณฑ์การเลือกตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) 0.5 แต่ละองค์ประกอบต้องประกอบด้วยตัวแปรอย่างน้อย 3 ตัวขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  = 4.14) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ฉันส่งงานและการบ้านที่ได้รับมอบหมาย (  = 4.47) รองลงมาคือ ครูรับฟังฉันเสมอเมื่อฉันแสดงความคิดเห็น (  = 4.38) ครูแจ้งจุดประสงค์และกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนเรียน (  = 4.36) และครูอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย (  = 4.32) ตามลำดับ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ จำนวน 20 ตัวแปร คือ (1) ด้านผู้สอน ประกอบด้วย 8 ตัวแปร โดยตัวแปรที่อธิบายด้านผู้สอนสูงสุด ได้แก่ ครูอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย (2) ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย 6 ตัวแปร โดยตัวแปรที่อธิบายด้านผู้เรียนสูงสุด ได้แก่ ฉันตั้งใจเรียนได้ตลอดช่วงเวลาของการเรียน และ  (3) ด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย 6 ตัวแปร โดยตัวแปรที่อธิบายด้านเทคโนโลยีสูงสุด ได้แก่ ความชัดเจนของภาพและเสียง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สีแก่นวงค์ น., & สอาดเอี่ยม อ. . (2024). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา: FACTOR ANALYSIS OF ONLINE LEARNING FOR ELEMENTARY STUDENTS. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 32–48. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15567
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ญาณพันธ์ สุขเกษม. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการฝึกอบรมเรื่องการใช้โปรแกรมสร้างบทเรียนออนไลน์ Moodle สำหรับครูผู้สอน (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจํากัดอรุณการพิมพ์.

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554, พฤษภาคม-สิงหาคม). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา. Veridian E-Journal SU. 4(1), 652-666.

ธนเดช ลี้เลิศธนกุล. (2555). E-Learning การสร้างบทเรียนอีเลิร์นนิ่งด้วยอีฟร้อนท์ (eFront) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี [เอกสารประกอบการอบรม]. จันทบุรี: โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2543, เมษายน-มิถุนายน). นิยามเว็บช่วยสอน Definition of Web-Based Instruction. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.12(34), 53-56

พชร ลิ่มรัตนมงคล และ จิรัชฒา วิเชียรปัญญา. (2556, กรกฎาคม - ธันวาคม). ปัจจัยแห่งความสําเร็จของการเรียนออนไลน์ของ ผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. รังสิตสารสนเทศ. 19(2), 54-63.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19- crisis-reopening-school-after-lockdown/

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. Journal of Management Science Review, 22(2), หน้า 203-213

อริย์ธัช สมโชค,อรสา จรูญธรรม, และวิษณุ สุทธิวรรณ. (2564). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ).ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีและวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

โอภาส เกาไศยาภรณ์, วสันต์ อติศัพท์ และ วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2557, กรกฎาคม-กันยายน). ศึกษาการพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทำงานร่วมกันและการแสวงรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา.พัฒนาเทคนิคศึกษา, 26 (91), 34 – 37.

Allen, E. I., & Seaman, J. (2013). Learning on demand: Online education in the United States, 2013. Babson Survey Group and the Sloan Consortium

Artino, A., and Loannou, A. (2008). Promoting Academic Motivation and Self-Regulation: Practical Guidelines for Online Instructors. Retrieved from https://www.learnteclib.org/primary/p/27160/

Baber, H. (2020). Determinants of students’ perceived learning outcome and satisfaction in online learning during the pandemic of COVID-19. Journal of Education and e-learning Research, 7(3), 285-292.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

Ferguson, George A. (1981). Statistical Analysis in Psychology and Education. 5 th.Ed., Tokyam Mc Graw – Hill Book Company.

Figlio, D. N., Rush, M., & Yin, L. (2010). Is it live or is it internet. Experimental Estimates of the Effects of Online Instruction on Student Learning, NBER Working Paper, (16089). National Bureau of Economic Research.

Likert, R. A. 1932. A Technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology, New York.

Myring, M., Bott, J. P., & Edwards, R. (2014). New approaches to online accounting education. The CPA Journal, 84(8), 66-71.

Parsons-Pollard, N., Lacks, R. D., & Grant, P. H. (2008). A comparative assessment of student learning outcomes in large online and traditional campus-based introduction to criminal justice courses. Criminal Justice Studies, 21(3), 239-251.

Risemberg, R., and Zimmerman, B.J. (2002). Self-regulated learning in gifted students. Roeper Review, 15(2), 98-101.

Stack, S. (2015). Learning Outcomes in an online vs traditional course. International Journal for the Scholarship of Teaching and Learning, 9(1), n1. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ EJ1134653.pdf

UNESCO. (2020). COVID-19 Impact on Education. online. (Available). Retrieved from: https://en.unesco.org/covid19/education response.