[Retracted article] ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยต่อการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา
Main Article Content
Abstract
Supaporn Porntrai and Jittima Wattarach
รับบทความ: 18 กรกฎาคม 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 30 ตุลาคม 2557
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 49 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย การวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมนักเรียนด้วยกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา การคิดเชิงระบบ และการเขียนเค้าโครงงานวิจัย ขั้นที่ 2 การดำเนินการวิจัยของนักเรียนภายใต้การให้คำแนะนำของครูที่ปรึกษา ใช้เวลาประมาณ 1 ภาคการศึกษา และขั้นที่ 3 การวัดการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนด้วยแบบวัด 3 ฉบับ ที่ประเมินโดยครูและนักเรียน และการวิเคราะห์แบบสะท้อนความคิดของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูและนักเรียนมีความเห็นตรงกันว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเด่นชัดในเรื่อง ความสามัคคีและการทำงานเป็นทีม ความอดทน ความกล้าแสดงออก และความพยายามขยันพากเพียร 2) สิ่งที่นักเรียนคิดว่าได้รับจากการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยมากที่สุดคือ การเรียนรู้ด้วยการค้นคว้าที่เกิดจากประสบการณ์นอกห้องเรียน ผ่านกระบวนการคิดในหลายรูปแบบ แล้วจึงสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเอง และ 3) การเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานฐานวิจัยทำให้นักเรียนพัฒนาตนเองครบทั้งสามด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะกระบวนการ การเปลี่ยนแปลงด้านทักษะกระบวนการที่เด่นชัดที่สุด คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม อย่างไรก็ตามความรู้ที่นักเรียนตระหนักว่าตนได้รับยังจัดอยู่ในขั้นความจำ ขาดการเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร สะท้อนให้เห็นว่า การคิดขั้นสูงยังจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาต่อไป
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา คุณลักษณะอันพึงประสงค์
Abstract
This research aimed to investigate desirable characteristic changing of 49 grade–11 students when the research-based learning was implemented. The research method comprised of 3 important steps. Step 1 was to prepare students using contemplative education activities, system thinking, and research proposal writing. Step 2 was to do research-based projects by students under the supervision of their advisors. This step took one semester to be done. Step 3, evaluating students’ changing after the project was completed by teachers and students themselves using 3 evaluation tools. Students’ written documents for their reflections were also analyzed. The results indicated that 1) teachers and students agreed that teaming collaboration was the highest changing behavior followed by patience, assertiveness and assiduousness; 2) Students reported that this learning method allowed them to do a lot of research and gain more experiences on learning outside the classroom, they needs to think a lot, then constructed their own knowledge; and 3) research-based learning allowed students to develop their abilities in 3 aspects of education domains. Changing in cognitive domain was highest followed by affective domain and psychomotor domain, respectively. For psychomotor domain, teaming collaboration was found to be the highest changing behavior. In addition, students’ knowledge developed during the project was in remembering level which lack of discussion and elaboration using the contents of subject area in the curriculum. This result indicated that higher-order thinking skills needed to be more developed.
Keywords: Research-based learning, Pohpanpunya project, Students’ desirable characteristics
บทความนี้ได้ถูกถอดถอน (retracted) เนื่องจากมีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนกับบทความวิจัยในวารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
สุภาพร พรใตร และจิตติมา เหมราช. (2559). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบการวิจัยเป็นฐานผ่านกิจกรรมโครงงานในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต 10(1): 14-26.
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ชนะศึก โพธิ์นอก. (2554). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง ชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัฐยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2555). บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21: การปรับปรุงหลักสูตรและการสอน. การประชุมวิชาการของราชบัณฑิตยสถานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. การประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย: สสค. กรุงเทพฯ: อิมแพค เมืองทองธานี.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิธีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สถาพร ภูผาใจ. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2555). โครงงานฐานวิจัย: กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุภาพร พรไตร. (2555). 9 เหตุผล สำหรับการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 18: 84-89.
Luanganggoon, N. (2012). How to link teaching and research to enhance students’ learning outcomes: Thai university experience. Procedia – Social and Behavioral Sciences 69: 213-219.
Prasarnphanicha, S., Pawattanaa, A., and Chusorna, C. (2014). The Development of integrated learning process on the topic of “Ngoen – Thong – Khong – Mee – Kha” with Prathom Suksa II students at Demonstration School, Khon Kaen University, Primary Section (Modindang) by using the project-based learning. Procedia – Social and Behavioral Sciences 112: 647-651.