ผลการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเรื่อง ทรัพยากรธรณี (หิน) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

สุรเชษฐ์ หิรัญสถิตย์

Abstract

Effects of Mineral Resources (Rock) Instruction based on CIPPA Model on Sciences Achievement and Learning Satisfaction of Students in Mattayomsuksa 2   Surachet Hirunsathitรับบทความ: 12 กรกฎาคม 2556; ยอมรับตีพิมพ์: 25 กันยายน 2556DOI: https://doi.org/10.14456/jstel.2013.17 บทคัดย่องานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเรื่องทรัพยากรธรณี (หิน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพฯ จำนวนนักเรียน 50 คน ซึ่งชักตัวอย่างมาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเรื่องทรัพยากรธรณี (หิน) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องทรัพยากรธรณี (หิน) 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเรื่องทรัพยากรธรณี (หิน) และ 4) บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องทรัพยากรธรณี (หิน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีโดยใช้ t-test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเรื่องทรัพยากรธรณี (หิน) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (p < .01) และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเรื่องทรัพยากรธรณี (หิน) อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ± 0.01คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทรัพยากรธรณี หิน AbstractThe purpose of this study was to study on science achievement and learning satisfaction of Mattayomsuksa 2 students that received the CIPPA model–based instruction in a topic of mineral resources (rock). The purposively sampled subjects were 50 Mattayomsuksa 2 students (n = 50) in the second semester of academic year 2012 from Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University, Bangkok. The research tools consisted of: 1) the lesson plan using CIPPA Model to teach the topic of mineral resources (rock); 2) achievement test of the learning about the science of mineral resources (rock); 3) students’ satisfaction questionnaire towards the CIPPA based instruction of mineral resources (rock); and 4) the lesson of programmed instruction on mineral resources (rock). The data were analyzed using arithmetic mean, percentage, standard deviation and t-test for dependent samples. The results of the study indicated that: 1) the mean score of learning achievement in science of Mattayomsuksa 2 students that taught CIPPA–based instruction of Mineral Resources (rock) after learning with this model was significantly higher than those before learning (p < .01); and 2) the mean score of satisfaction of Mattayomsuksa 2 students that taught CIPPA–based instruction of mineral resources (rock) was at the highest level which was the mean as 4.56 4.56 ± 0.01.Keywords: Instruction based on CIPPA Model, Learning achievement, Mineral resources, Rocks

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึก-ษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรง-พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิรพันธ์ ทัศนศรี. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบซิปปากับแบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐวุฒิ จันละมุด. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบโมเดลซิปปาและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การ มัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2525). การสร้างแบบทดสอบ 1: เอกสารคำสอนวิชาวัดผล 301. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญฤดี แซ่ล้อ. (2546). ผลการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกิจ รัตนสุวรรณ. (2525). การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พรพิศ เถื่อนมณเฑียร. (2542). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและความสนใจในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการฝึกด้วยเกมที่ใช้คำถามต่างกัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2530). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการ ศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2553). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

รชาดา บัวไพร. (2552). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบโมเดลซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัญญา วิศาลาภรณ์. (2530). การสร้างแบบทดสอบ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ 1999.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.