ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดที่มีต่อทักษะการสรุปความคิดรวบยอดกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
Abstract
Wichitpon Meekaew
รับบทความ: 16 มิถุนายน 2555; ยอมรับตีพิมพ์: 23 สิงหาคม 2555
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนที่ความคิดที่มีต่อทักษะการสรุปความคิดรวบยอดกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสังเวช จำนวน 35 คน ได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้แผนที่ความคิด (mind mapping) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินทักษะการสรุปความคิดรวบยอด ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 (p < .05) จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.86 ± 1.87 คิดเป็นร้อยละ 79.29 นักเรียนมีทักษะการสรุปความคิดรวบยอดวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.28 ± 2.93
คำสำคัญ: แผนที่ความคิด การสรุปความคิดรวบยอด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Abstract
This research aimed to study the effects of learning using mind mapping on summarizing concept skill and science achievement of lower secondary school students. The participants were 35 Mattayomsuksa III students purposively selected from Watsungwej School. This study was performed through 3 instruments were: 1) learning Management Plan by using mind mapping; 2) students’ achievement test; 3) summarizing concepts skill test. The results showed that the students’ achievement after learning was significantly higher than the proposed standard 70 percent (p < .05) (79.29%), in which the average score was 15.86 ± 1.87. The skill of summarizing concept in science subject of students was in a good level, in which the average score was 11.28 ± 2.93.
Keywords: Mind map, Summarizing concept, Learning achievement
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัด การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์.
กิ่งกาญจน์ คำวงค์ปิน. (2547). ผลการพัฒนาความ สามารถด้านการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์ที่แสดงได้โดยแผนที่ความคิด. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 4.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ: ซัคเซลมีเดีย.
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า. (2545). ความคิดรวบยอด เรื่องที่ครูควรรู้ในศิลปะ: ศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดุษิต พรหมชนะ. (2546). การใช้กระบวนการสร้างแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดและการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
ทิศนา แขมณี. (2544). ประมวลบทความ นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นาตยา ปิลันธนานนท์. (2542). การเรียนรู้ความคิดรวบยอด. กรุงเทพฯ: แม็ค.
นิคม พงษ์ประเสริฐ. (2544). ผลของการใช้ผังมโนมติสัมพันธ์ในการสรุปบทเรียน วิชาฟิสิกส์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วราภรณ์ อรรถธรรมสุนทร. (2546). ผลการใช้กิจกรรมผังความสัมพันธ์ของความหมายที่มีต่อการเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วลัย พานิช. (2549). การใช้แผนผังกราฟิก ใน ประมวลบทความกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัมฤทธิ์ บุญนิยม. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพืชและสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนด้วย วิธีการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด กับ วิธีการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ (หลักสูตรและการสอน). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2555). การเขียนแผนที่ความคิด (mind map). จากhttp://www.tsu.ac.th/office/eso/KMT/kungkmc/ PAPER7MINDMAP.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยล้วนเกล้า.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อังศนา เลิศศรี. (2551). การใช้แผนที่ความคิดเพื่อเสริมสร้างทักษะการสรุปความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดดอนชัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ (วิชาการสอนสังคม). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
อารมณ์ เพชรชื่น. (2548). การสังเคราะห์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 17(1): 77–95.
Ponanan, T. (1997). Mind map and education, and knowledge management. Bangkok: Kwankao.