การพัฒนาและติดตามศักยภาพในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ศศิเทพ ปิติพรเทพิน

Abstract

Developing and Following up Thai Pre-service Science Teachers’ Competencies for Science Communication
 
Sasithep Pitiporntapin
 
รับบทความ: 19 เมษายน 2556; ยอมรับตีพิมพ์: 5 พฤษภาคม 2556
 
 
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและติดตามศักยภาพในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์โดยงานวิจัยช่วงแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทรรศนะเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ของนิสิตจบใหม่สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 14 คน ปีการศึกษา 2554 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า นิสิตจบใหม่ส่วนใหญ่มีทรรศนะส่วนใหญ่ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แต่ยังไม่มีทรรศนะในด้านข้อจำกัดของการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ในการตอบคำถามได้ทุกคำถามนักวิทยาศาสตร์ใช้เหตุผลและจินตนาการในการสร้างความรู้ และกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ในระดับสังคมซึ่งทรรศนะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้งานวิจัยในช่วงที่ 2 ผู้วิจัยจึงสร้างรายวิชาการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิตครูในการสื่อสารทางวิทยา-ศาสตร์โดยใช้การสะท้อนความคิดผู้วิจัยเก็บรวบรวมจากนิสิตครูจำนวน 12 คน ในภาคต้น ปีการศึกษา 2555 ด้วยการสังเกตการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ บันทึกการเรียนรู้ แบบทดสอบเรื่องการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ และแบบบันทึกการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า นิสิตส่วนใหญ่เข้าใจการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้นิสิตยังพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนและมีเจตคติที่ดีต่อการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และต่อการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นส่วนงานวิจัยช่วงที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์สู่ชุมชนของนิสิตครูที่สมัครใจเป็นกรณีศึกษา จำนวน 3 คน ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2555 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการบันทึกการเรียนรู้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลแบบแบบอุปนัย พบว่า นิสิตได้นำเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นได้แก่ การใช้ภาษาให้เหมาะสม การอธิบายทางวิทยาศาสตร์การใช้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและการใช้ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คำสำคัญ: นิสิตครูวิทยาศาสตร์ การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ การสะท้อนความคิด
 
Abstract
The purpose of the study was to develop and follow up pre-service science teachers’ science communication competencies. For the first phase, it aimed to survey views on scientists of 14 new graduate pre-service science teachers in the academic year 2011. The researchers collected data from questionnaires and in-depth interviews. The data were analyzed from content analysis. The findings showed that most of them had their views to be in line with nature of science. However, they still had no views on the limit of scientific explanation for every question, the scientists’ using of the reasoning and imagination for construction of knowledge, and scientist’s activities in social level. These missing views were concerned with science communication. Therefore in second phase, the researcher developed Science Communication course for enhancing pre-service science teachers’ teaching competencies for science communication through reflection. The researchers collected data from 12 pre-service science teachers in the first semester of academic year 2012. Multiple data were gathered from observation, informal interview, journal entries, science communication tests, a science communication attitude test, course evaluation form, and informal interview logs. Content analysis was used to analyze the data. The finding indicated that most of them had increased their understanding about science communication. Moreover, they also continually developed their listening, speaking, reading and writing skills as well as had positive attitude towards science communication and learning in this course. For third phase, the purpose of this phase was to study in depth about science communication through communities from 3 pre-service science teachers in the second semester of academic year 2012. The researcher collected from observation, informal interview, journal entries. Analytic induction was used. The finding revealed that they learned more about science communication such as how to use scientific language appropriately, explain scientific data to others, using critical thinking and technology for communication, and apply science communication skills in learning and teaching.
Keywords: Pre-service science teachers, Science communication, Reflection

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกนุช ชื่นเลิศสกุล. (2544). การเรียนรู้โดยผ่านการสะท้อนความคิด: การศึกษาและการปฏิบัติการพยาบาลในคลีนิก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 9(2): 35-48.

กิตติชัย พินโน อมรชัย คหกิจโกศล อรุณี อัตตนาถวงษ์ และอาภาโสม ฉายแสงจันทร์. (2554). ภาษากับการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ขนิษฐา สุตพันธ์. (2554). ภัยพิบัติทางน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบภัย. วารสารสำนักการระบายน้ำ. สืบค้นจาก http://dds.bangkok.go.th/News_dds/magazine/ magazine5/maga5_12.pdf เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555.

คณะกรรมการวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (2553). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ PISA และTIMSS. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

จรัลวิไล จรูญโรจน์. (2548). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพ มหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชนัตว์ ชามทอง. (2550). การจัดกิจกรรมสร้างเสริมความสามารถด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารกับการพัฒนา หน่วยที่ 1-8. พิมพ์ครั้งที่ 9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุวนุช ทินนะลักษณ์ และจุมพล เหมะคีรินทร์. (2548). “การรายงานข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ใน หนังสือชุดวิชา การข่าวขั้นสูงและการบรรณาธิกร หน่วยที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2542. กรงุเทพมหานคร: นานมีบุ๊ค.

รุ่งนภา ทัดท่าทราย. (2547). การสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ประ-ชาชนเจาะใจคนทำงานผลิตสื่อด้านวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยาศาสตร์ 58(6): 413-418.

สกนธ์ ภู่งามดี. (2546). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อรณรงค์การต่อต้านสิ่งเสพติดในกลุ่มเยาวชน: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนในมหาวิทยาลัยเขตภาคตะวันออกของไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.). (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2549). การอ่านหนังสือของคนไทย. สารสถิติ 17(8): 4-6.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิรินภา กิจเกื้อกูล นฤมล ยุตาคม และ อรุณี อิงคากุล. (2548). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สาขาสังคมศาสตร์) 26(2): 133-145.

สุทธิดา จำรัส นฤมล ยุตาคม และพรทิพย์ ไชยโส. (2552). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัย มข (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 14(4): 360-374.

สุทธิดา จำรัส และนฤมล ยุตาคม. (2551). ความเข้าใจและการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในเรื่องโครงสร้างอะตอมของครูผู้สอนเคมี. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สาขาสังคมศาสตร์) 29(3): 228-239.

อัจฉราภรณ์ สุริยงค์. (2548). ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

American Association for the Advancement of Science (AAAS). (1989). Project 2061: Science for All Americans Online. Retrieved from http://www. project2061.org, November 11, 2011.

Barman, C. R., Lessow, B., Lessow, D., and Shedd, J. D. (1996). The zoo connection: A cooperative project between formal and informal educational institutions. School Science and Mathematics 96(1): 36-41.

Bouillion, L. M. and Gomez, L. M.. (2001). Connecting school and community with science learning: real world problems and school-community partnerships as contextual scaffolds. Journal of Research in Science Teaching 38(8): 878-898.

Gayford, C. (2002). Controversial environmental issues: A case study for the professional development of science teachers. International Journal of Science Education 24(11): 1191-1200.

Gross, A. G. (1994). The roles of rhetoric in the public understanding of science. Public Understanding of Science 3(1): 3-23.

Hatton, N., and Smith, D. (1995). Reflection in teacher education: Towards definition and implication. Teaching and Teacher Education 11(1): 33-49.

Kortland, K. (1996). An STS case study about students’ decision making on the waste issue. Science Education 80(6): 673-689.

Langer, A. M. (2002). Reflecting on practice: Using learning in higher and continuing education. Teaching in Higher Education 7(3): 337-351.

Loucks-Horseley, S., Love, N., Stiles, K. E., Mundry, S., and P.W. Hewson. (2003). Designing Pro-fessional Development for Teachers of Science and Mathematics. The National Institute for Science Education. California: Corwin Press.

Luhmann, N. (1990). What is communication? Com-munication Theory 2(3): 251-259.

Matthews, M. (1994). Science Teaching: The role of History and Philosophy of Science. New York: Routledge.

National Research Council (NRC). (1996). National Science Educational Standards. Washington, DC: National Academy Press.

O’Sullivan, M. C. (2002). Action research and the transfer of reflective approach to inservice education and training (INSET) for unqualified and under- qualified primary teacher in Namibia. Teaching and Teacher Education 18(5): 523-539.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). (2004). Thailand’s Bio-diversity. Retrieved from http://www.chm-thai. onep.go.th/Publication/ThaiBiodiv/ThailandBio diversity_eng.pdf, January 6, 2011.

Padilla, M., Okey, J., and Dillashaw, F. (1983). The relationship between science process skills and formal thinking abilities. Journal of Research in Science Teaching 20: 150-165.

Park, C. (2003). Engaging students in the learning process: the learning Journal. Journal of Geography in Higher Education 27(2): 183-199.

Sadler, T.D. and Zeidler, D. L. (2003). Weighing in on genetic engineering and morality: Students reveal their ideas, expectations, and reservations. Paper presented at the Annual Meeting of the National Association for Research in Science Teaching. Philadelphia, PA. March 23-26, 2003. Retrieved from Available: http:// www.eric.ed.gov, May 6, 2012.

Sing, Tony. (2007). การสื่อสารวิทยาศาสตร์และเทค-โนโลยีกับการพัฒนาประเทศ สืบค้นจาก http:// www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1437, December 12, 2010.

Tobin, K. and McRobbie, C. J. (1997). Beliefs about the nature of science and the enacted science curriculum. Science and Education 6(4): 355-371.

Tyler, R. (2002). Learning for understanding in science: Constructivism/conceptual change model in science teacher education. Science Education 80: 317-341.

Van Driel, J. H., Jong, D., and Verloop, N. (2002). The development of preservice chemistry teacher’s pedagogical content knowledge. Science Education 86(4): 572-590.

Wise, V., Spiegel, A., and Bruning, R. (1999). Using teacher reflective practice to evaluate professional development in mathematics and science. Journal of Teacher Education 50(1): 42-49.

Most read articles by the same author(s)