การสร้างบุญบารมีตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาสำหรับสังคมผู้สูงอายุ

Creating Merit on Dharma of Buddhism for the Elderly Society

Authors

  • จุลศักดิ์ ชาญณรงค์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

บุญบารมี , สังคมผู้สูงอายุ

Abstract

            งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาความเข้าใจเรื่องการสร้างบุญบารมีของผู้สูงอายุในปัจจุบัน และ (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการสร้างบุญบารมีสำหรับสังคมผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี โดย การวิเคราะห์แบบทดสอบปรนัยแบบถูกผิด และ การวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานชมรมผู้สูงอายุจากทุกภาคทั่วประเทศ จำนวน 386 คน และ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนจากภาครัฐ พระสงฆ์ และ ประธานชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 15 รูป/คน สำหรับการระบุความเข้าใจเรื่องการสร้างบุญบารมีของผู้สูงอายุในภาพรวมและแยกรายด้าน ประกอบด้วยด้าน ทาน ศีล และ ภาวนา จากค่าคะแนนความเข้าใจเรื่องการสร้างบุญบารมีของผู้สูงอายุในปัจจุบันในสามระดับ คือระดับน้อย ปานกลาง และมาก และด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อระบุข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการสร้างบุญบารมีสำหรับสังคมผู้สูงอายุ ผลการวิเคราะห์พบว่า 1)  ผู้สูงอายุไทยในปัจจุบันมีความเข้าใจเรื่องการสร้างบุญบารมีในระดับปานกลาง ทั้งในภาพรวมและแยกรายด้าน 2) ข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการสร้างบุญบารมีสำหรับผู้สูงอายุ ข้อทาน ศีล และภาวนา สามารถสังเคราะห์ได้ว่าควรยึดหลักการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ เริ่มจากการวางแผนด้วยการกำหนดกรอบหรือทิศทางการทำงานผ่านรูปแบบการบูรณาการกับภาคส่วนต่างๆ จากนั้นควรมีการนำแผนไปปฏิบัติผ่านการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายเน้นการดำเนินกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมที่ทำได้ด้วยตนเอง หรือทำได้กับคนภายในครอบครัว หรือกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน ประการต่อมาควรมีการตรวจสอบ ด้วยการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนผ่านหลักของการถ่ายถอดประสบการณ์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงในท้ายที่สุดต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ผ่านกิจกรรมการหารือร่วมกันเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหารวมถึงการพัฒนากิจกรรม โดยควรมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักในการพัฒนากิจกรรม โครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบุญบารมีที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ

References

บุญมี แท่นแก้ว. (2541). จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ประสิทธิ์ สระทอง. (2560). บทบาทของวัดที่มีต่อสังคมในการก้าวเดินในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(1): 936-951.

พระครูปริยัติวโรทัย. (2557). ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของบุญในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดวีระชนม์ เขมวีโร และคณะ. (2560). การเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5(1): 78-88.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) . (2547). พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) . (2555). บารมียิ่งยวดหรือยิ่งใหญ่. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

พระราชวรมุนี(ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). พจนานุกรมศัพท์พุทธศาสน์. พระนคร: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป.

พระสมใจ แพงศรี. (2556). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการทำบุญในวันออกพรรษาของพุทธศาสนิกชน: กรณีศึกษาวัดสมรโกฏิ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม. ถ่ายเอกสาร.

วรรณษา วงษ์เส็ง และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). บทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุด้านประชาสังคมในการพัฒนาชุมชน เขตบางแค กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(1): 1399-1415.

ศิลปสวย ระวีแสงสูรย์. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. (2552). ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนชนบทไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

ศศิธร เหล่าเท้ง ลาวัลย์ พุ่มพฤกษ์ และ ศุภศิริ ศรีตระกูล. (2558). การให้ความหมาย ที่มาของความหมายและรูปแบบการทำบุญ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6(3): 658-670.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2540). จิตวิทยาผู้สูงอายุทุกช่วงวัย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมภพ มหาคีตะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำบุญของพุทธศาสนิกชนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทั่วไป). ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ถ่ายเอกสาร.

สุชาติ หล้าอภัย. (2559). การประยุกต์ใช้มหาสติปัฏฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารธรรมทรรศน์. 16(2): 75-92.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2562). ข้อเสนอการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 11(1): 26-46.

Downloads

Published

2023-06-30