https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/issue/feed วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2024-06-28T00:00:00+00:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ เมฆแสงสวย jsocswu@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong><strong><br /></strong>1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตคณะสังคมศาสตร์ รวมถึงผู้สนใจทั่วไปได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ<br />2. เพื่อสร้างสรรค์ พัฒนา และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิทยาการวิจัยใหม่ ๆ ทางด้านสหวิทยาการสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong><strong><br /></strong>วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ <br />ISSN: 3027-8694 (Print)<br />ISSN: 3027-8708 (Online) <br />มีกำหนดเผยแพร่วารสารปีละ 2 ฉบับ<br /> ● ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน)<br /> ● ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>สาขาวิชาที่เปิดรับผลงาน<br /></strong> ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การพัฒนาชุมชน รัฐศาสตร์ การปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา นิติศาสตร์ สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม ประชากรศาสตร์ การบริหารและการจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การตลาด สื่อสารมวลชน การบัญชี การเงินและการธนาคาร การจัดการ การจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม การจัดการโลจิสติกส์ สังคมศึกษา สหวิทยาการทางสังคมศาสตร์</p> <p><strong>*** ไม่เสียค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ***<br />(เนื่องจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้สนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้ว)</strong></p> https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/14840 บทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ต่อชมรมผู้สูงอายุไทย 2023-02-13T04:24:00+00:00 ผศ.ดร.จุลศักดิ์ ชาญณรงค์ brakmae@yahoo.com <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาบทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ในทัศนะของชมรมผู้สูงอายุไทย และ (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ต่อผู้ชมรมสูงอายุไทยในทัศนะของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย เป็นงานวิจัยแบบผสม โดย การวิเคราะห์แบบสอบถาม สอบถามจากกลุ่มตัวอย่างคือประธานชมรมผู้สูงอายุของทุกภาคทั่วประเทศจำนวน 394 คน ระบุบทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ในทัศนะของชมรมผู้สูงอายุไทยตามความสอดคล้องกับบทบาทของภาครัฐจากสามแนวคิดหลักของรัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ คือ แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ และ แนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ ต่อชมรมผู้สูงอายุไทย ด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ และ วิเคราะห์แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนจากภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 14 คน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ในทัศนะของชมรมผู้สูงอายุไทยสอดคล้องกับบทบาทของภาครัฐตามแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่มากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.31) และ (2)ข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ต่อผู้ชมรมสูงอายุไทยในทัศนะของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย มีสามประการหลัก คือ ภาครัฐควร มีการบูรณาการการดำเนินงานการพัฒนาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชมรมผู้สูงอายุร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ภาครัฐควรเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหรือส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ และ ภาครัฐควรสนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุสามารถดำเนินการด้วยตัวของชมรมผู้สูงอายุเองไปจนถึงการเป็นอีกหนึ่งองค์กรทางสังคมเพื่อสังคม ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่าข้อเสนอดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่เช่นเดียวกัน<br />This research has two objectives: 1) to study the desirable role of the public sector in the viewpoint of the Thai Elderly Club and 2) to study the proposal regarding the desirable role of public sector in Thai elderly clubs in the viewpoint of the public sector that is directly related to improvement of quality of life of Thai elderly. This is a mixed-method study. 394questionnaires were collected from the chairman of the elder’s club of every region across the country. They identified the desirable role of the public sector in the viewpoint of the Thai Elderly Club in accordance with the role of the public sector from the three main concepts of modern public administration: “New Public Management,” “New Public Service,” and “New Public Governance.” to Thai Elderly Club with frequency and percentage distribution. Content analysis was conducted of interviews with 14 key informants who were representatives from the public sector who were directly involved in the improvement of quality of life of elderly.</p> <p><span style="font-weight: 400;">The results reveal that </span><span style="font-weight: 400;">1)</span><span style="font-weight: 400;"> the desirable public sector role in the viewpoint of the Thai Elderly Club was consistent with the role of the public sector under the concept of </span><span style="font-weight: 400;">“</span><span style="font-weight: 400;">New Public Service,</span><span style="font-weight: 400;">”</span><span style="font-weight: 400;"> with a mean of </span><span style="font-weight: 400;">4.06 </span><span style="font-weight: 400;">and a standard deviation of </span><span style="font-weight: 400;">0.31</span><span style="font-weight: 400;"> and 2</span><span style="font-weight: 400;">)</span><span style="font-weight: 400;"> There are three main proposals for the desirable public sector in Thai elderly clubs in the viewpoint of the public sector that is directly related to the improvement of the quality of life of the Thai elderly. The public sector should integrate the implementation of development and problem-solving with the elderly clubs of the public sector that are directly involved for maximum efficiency. The public sector should be one of the supporters or promote collaboration between different sectors in the development of the elderly club, and public sector should encourage the elderly club to be able to operate by themself to become another social organization for society. The proposal thus is also consistent with the concept of </span><span style="font-weight: 400;">“</span><span style="font-weight: 400;">New Public Service</span><span style="font-weight: 400;">”.</span></p> 2024-06-28T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15428 แรงงานไทยในรัฐซาบาห์และซาราวัก ประเทศมาเลเซีย: สถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค และผลกระทบ 2023-06-28T05:15:15+00:00 ชนายุส ศรีจันทรา mr.chanayut@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ของแรงงานไทยในรัฐซาบาห์และซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ดำเนินการศึกษาโดยอาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย แรงงานไทยในรัฐซาบาห์และซาราวัก เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน นายหน้าและเครือข่ายองค์กรที่มิใช่รัฐ (NGO) ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของแรงงานไทยในรัฐซาบาห์และซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย อุปสรรคด้านภาษา ปัญหาที่เกิดจากนายจ้าง และปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้แรงงานไทยบางส่วนต้องใช้ชีวิตอย่างหลบซ่อน และไม่ได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ที่สำคัญ 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสุขภาพและความมั่นคงส่วนบุคคล ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยควรเร่งเจรจากับรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการนำแรงงานเหล่านี้เข้าสู่ระบบและลดปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย รวมถึงการพิจารณาให้ระบบประกันสังคมของไทยสามารถให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานไทยในต่างประเทศ</p> <p style="font-weight: 400;"> The purpose of the research is to study and understand the situation, problems and obstacles, including the effects on human security of Thai workers in Sabah and Sarawak, Malaysia. This qualitative research uses data collected from documents and interviews with key informants, including Thai workers in Sabah and Sarawak, Ministry of Labor officers, brokers, and NGO workers.</p> <p><span style="font-weight: 400;"> The research shows that the problems and challenges of Thai workers in Sabah and Sarawak, Malaysia are language barriers, problems caused by the employer, and illegal labor problems. These problems result in some Thai workers having to live in hiding and lack the basic protection which affects human security in three important areas: economic stability, health, and personal security. For this reason, the Thai government should discuss with the Malaysian government to consider the possibility of bringing these workers into the system and reducing illegal labor. Thai social security system should be incorporated to provide protection and assistance to Thai workers that go abroad.</span></p> 2024-06-28T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15387 การพัฒนาแบบวัดความความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2023-07-25T03:10:36+00:00 navapat supavarangkul navapat.su@ku.th วารุณี ลัภนโชคดี ลัภนโชคดี Warunee@gmm.com ศุภฤกษ์ ทานาค Suppalerk@make.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนาเกณฑ์ปกติสำหรับการแปลความหมายคะแนนจากแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และ 4) เพื่อพัฒนาคู่มือการใช้แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัด คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ซึ่งเรียนครบทุกตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 17,876 คน ซึ่งผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน แล้วจึงทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้นักเรียนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ประเภทปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 60 ข้อ โดยมีการตรวจให้คะแนนแบบตอบถูกได้ 1 คะแนนและตอบผิดได้ 0 คะแนน ซึ่งวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ใน 3 องค์ประกอบ คือ ความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ และทักษะทางภูมิศาสตร์ คุณภาพของแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ พบว่า คุณภาพรายข้อ ได้แก่ 1) ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการตั้งแต่ 0.60 – 1.00 หมายความว่าข้อคำถามมีความตรงเชิงเนื้อหา 2) ค่าความยากของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.26 – 0.61 ซึ่งเป็นข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างยากถึงค่อนข้างง่าย 3) ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.20 – 0.35 ซึ่งเป็นข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์จำแนกได้ปานกลางถึงจำแนกได้ดีพอสมควร คุณภาพรายฉบับ ได้แก่ 1) ค่าความเที่ยงแบบวัดทั้งฉบับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.909 ค่าความเที่ยงรายองค์ประกอบ ประกอบด้วย ความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ และทักษะทางภูมิศาสตร์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.681, 0.806 และ 0.834 ตามลำดับ 2) การวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ที่มี 3 องค์ประกอบและ 15 ตัวบ่งชี้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาจากค่าสถิติ ไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 104.39; df=86; p-value=0.09; /df=1.21; SRMR=0.04; RMSEA=0.03; GFI=0.96; AGFI=0.94 และ NFI=0.97 เกณฑ์ปกติของแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ที่ใช้สำหรับการแปลผลแบบวัด มีคะแนนมาตรฐานทีปกติตั้งแต่ T28 – T80 และเกณฑ์ปกติรายองค์ประกอบ ในด้านความสามารถทางภูมิศาสตร์ ด้านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ และด้านทักษะทางภูมิศาสตร์ มีคะแนนมาตรฐานทีปกติตั้งแต่ T31 – T74, T32 – T77 และ T30 – T77 ตามลำดับ ส่วนคู่มือการใช้แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ มีความชัดเจน เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างครบถ้วน</p> <p> </p> <div><span lang="EN-US">The purpose of this research is as follows: 1) to develop the geographic literacy scale, 2) to validate the geographic literacy scale, 3) to establish the norms of the geographic literacy scale, and 4) to construct the manual of the geographic literacy scale. The sample used to check the quality and develop the measuring scale is 5 experts and high school students in the Nonthaburi Secondary Educational Service Area Office. 17,876 people had studied all indicators of geography at the high school level. The researcher randomized 400 people using a two-stage random sampling method. The first step was to randomly stratify according to the size of the school. Then simple randomization was performed to obtain students who were representative of the population. The results show that the developed geographic literacy scale comprised situational measurement. Each item is a multiple-choice question with 4 options, with a correct answer scoring 1 point and a wrong answer scoring 0 points. The scale measures geographic literacy in 3 components: geographical ability, geography processes, and geography skills. The quality of the geographic-literacy scale shows that 1) the content validity of the geographic-literacy scale has a consistency index between the question and the operational definition (IOC) between 0.60-1.00. This means that the questions are content valid 2) the difficulty of the questions is between 0.26–0.61 which means that the questions range from quite difficult to quite easy and 3) the discriminatory power of the questions is between 0.20–0.35 which means that the questions classification criteria are moderate to reasonably good. Each edition quality consists of 1) the reliability of the whole scale was 0.909. The reliability of the geographical ability component, geography processes component, and geography skills component were 0.681, 0.806, and 0.834, respectively. 2</span><span lang="TH">) </span><span lang="EN-US" style="font-size: 0.875rem;"><span lang="EN-US" style="font-size: 0.875rem;">construct validity analysis found that the geography intelligence measure has 3 components and 15 indicators. This is consistent with the empirical data. The chi-square value is 104.39; df=86; p-value=0.09;</span></span> <div><span lang="EN-US"><img src="blob:https://ejournals.swu.ac.th/e1609f92-abe9-422a-b706-e8f9cfaea322" width="14" height="18" /><span style="font-size: 0.875rem;">/df=1.21; SRMR=0.04; RMSEA=0.03; GFI=0.96; AGFI=0.94 and NFI=0.97. The norms for geographic literacy scale of T-Score used for the interpretation of normal measurement results were in the range of T28–T80. Normal criteria for each component in the area of geographic ability, geographic process, and geographic skills are T31–T74, T32–T77, and T30–T77, respectively. The user manual for geographic literacy scale is clear, suitable for use, and contains all essential components.</span></span></div> </div> 2024-06-28T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15381 การวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของฟาร์มไก่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 2023-07-26T02:39:47+00:00 ภคนิจ คุปพิทยานันท์ pakanit@sut.ac.th ศจีรา คุปพิทยานันท์ sajeera@sut.ac.th สิริพร กมลธรรม siripon@g.sut.ac.th พันทิพย์ ปิยะทัศนานนท์ pantip.p@sut.ac.th <p>โรคระบาดในสัตว์ปีก เช่น ไข้หวัดนก โรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นต้น ก่อปัญหาทางเศรษฐกิจและอื่นๆ อย่างมหาศาลต่อเกษตรกรผู้ทำฟาร์มไก่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ของฟาร์มไก่ในเขตจังหวัดนครราชสีมาด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่วิธีการจัดการและมาตรการในการป้องกันกำจัดโรคได้อย่างถูกต้องตามความเหมาะสมของปัจจัยเชิงพื้นที่เป็นสำคัญ โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลและปัจจัยเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การศึกษานี้มีขอบเขตการศึกษาฟาร์มไก่ขนาดใหญ่ (จำนวนไก่มากกว่า 1 แสนตัว) และฟาร์มไก่ขนาดเล็ก (จำนวนไก่น้อยกว่า 1 แสนตัว) ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อพิจารณารูปแบบการกระจายของฟาร์มไก่ในพื้นที่ ทิศทางของตำแหน่งที่มีการกระจุกตัวของกลุ่มฟาร์มไก่ขนาดใหญ่และการกระจุกตัวของฟาร์มไก่ขนาดเล็ก ผลการศึกษาพบว่า พบการกระจุกตัวอย่างชัดเจนทั้งในกลุ่มฟาร์มขนาดใหญ่และขนาดเล็ก (ค่า ANN = 0.50 โดย z-score = -17.63 และ p-value &lt; -2.58 ที่ระดับความเชื่อมั่น 99%) ตำแหน่งที่ตั้งฟาร์มมีทิศทางการกระจายตัวสัมพันธ์กับถนนและแม่น้ำอย่างชัดเจน โดยมีรูปแบบการวางตัวขนานไปกับเส้นทางถนนสายหลักหมายเลข 24 และมักอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ฟาร์มไก่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตน้ำฝนเฉลี่ย 900-1100 ม.ม./ปี จากผลการศึกษานี้จึงนำไปสู่การสร้างแบบจำลอง 4 สถานการณ์ เพื่อเสนอแนะมาตรการป้องกันและเสนอแนะแนวทางการป้องกันการ แพร่ระบาดในวงกว้างตามสภาพปัจจัยเชิงพื้นที่และปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก งานวิจัยนี้มีประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังสถานการณ์หากเกิดการระบาดในพื้นที่ที่จะสามารถมีผลกระทบกับกลุ่มอ่อนไหวเดียวกับตนและในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการจัดการและป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเป็นระบบต่อไป</p> <p> </p> <div><span lang="EN-US">Chicken farming can suffer from epidemics such as bird flu, Newcastle disease, and infectious bronchitis, which will also cause economic problems enormously for farmers. This research aims to analyze the spatial distribution patterns of chicken farms in Nakhon Ratchasima Province using the Geographic Information System, which will provide a guideline for disease prevention based on spatial factors. The spatial factors and rainfall amounts were studied using a geographic information system. This study covers large-scale chicken farms (more than 100,000 chickens) and small chicken farms (less than 100,000 chickens) in Nakhon Ratchasima Province. This research explores the distribution pattern of chicken farms in the area and the directions of the cluster locations of large and small chicken farms in the study area. The study found cluster patterns in both large chicken farms and small chicken farms (ANN value = 0.50 where z-score = -17.63 and p-value &lt; -2.58 at 99% confidence level). The farm's locations have a clear distribution direction relative to a main road and natural water bodies. They are oriented parallel to the major route number 24 and are mainly near the water sources. Most chicken farms are located in the average of 900-1100 mm./year rainfall. The result of this study leads to a modeling of four scenarios to suggest preventive plans for four tentative situations based on spatial and rainfall considerations. The results of this study benefit farmers to be aware of the outbreak in the same cluster and the relevant agencies to manage and prevent the spread of the diseases effectively.</span></div> 2024-06-29T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15416 การควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล กรณีศึกษากฎหมายสหภาพยุโรป 2023-08-16T03:00:12+00:00 Rattasapa Chureemas rattasapa@g.swu.ac.th Peemapon Kwonsawad m.rattasapa@gmail.com Thanasret Sretthakulkait m.rattasapa@gmail.com <p>ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลได้ส่งผลให้สื่อดิจิทัลเข้าถูกนำมาใช้ในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ประกอบธุรกิจหลายรายเลือกใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล(Platform Digital) ที่เป็นสื่อออนไลน์เป็นสื่อกลางในการให้บริการมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นจำนวนมาก แต่ประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่รองรับธุรกรรมในการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ที่เป็นหนึ่งในการดำเนินธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้หากมีการซื้อขายกันในลักษณะดังกล่าว จึงต้องอาศัยหลักกฎหมายทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่าง ๆ ที่แยกย่อยอยู่ในกฎหมายหลายฉบับในควบคุมการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ จึงอาจส่งผลให้เกิดปัญหาของกฎหมายที่อาจมีความขัดกันในบางบริบท จากการศึกษากฎหมายของประเทศไทยรวมถึงกฎหมายที่กำกับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลในสหภาพยุโรปที่มี การดำเนินการบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันและอยู่ในระหว่างการพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดรับการความเปลี่ยนแปลงไปของสังคม เช่น กฎหมายอีคอมเมิร์ซของสหภาพยุโรป (EU E-Commerce Directive 2000/31/EC) กฎระเบียบสหภาพยุโรปว่าด้วยการประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มออนไลน์ (EU Regulation on Platform-to Business Relation หรือ P2B) ร่างกฎหมายบริการดิจิทัล (Digital Service Act) และกฎระเบียบสหภาพยุโรปว่าด้วยตลาดที่แข่งขันได้และยุติธรรมในภาคดิจิทัล (Digital Markets Act) ซึ่งวางหลักการกำกับดูแลในรูปแบบลักษณะของกฎหมายดังกล่าวเป็นการกำกับดูแลแบบบังคับหรือที่เรียกว่ามาตรการกำกับดูแลภายหลังไม่ได้ใช้ระบบการจดทะเบียนหรือระบบอนุญาตแต่อย่างใด แต่มีลักษณะเป็นข้อกำหนดผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่เข้าลักษณะเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้นั้นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายนั้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าการกำกับดูแลธุรกิจหรือกิจกรรมในระบบดิจิทัลเป็นเรื่องเฉพาะที่จำเป็นต้องมีการออกกฎหมายเพื่อการกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาของกฎหมายที่อาจมีความขัดกันในบางบริบท จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาโดยประเมินและตรวจสอบความจำเป็นประกอบการร่างและพิจารณากฎหมายด้วยอีกประการหนึ่ง<br /><br /></p> <div><span lang="EN-US">The advancement of digital technology has led to the increased utilization of digital media for daily life convenience and has prompted many businesses to choose digital platforms as their primary means of service delivery. This has resulted in a proliferation of digital platforms providing various services. However, Thailand currently lacks specific laws governing online transactions, especially in the context of digital platform business operations and regulations. Therefore, when conducting such online transactions, general laws stipulated in various statutes that control online commerce are relied upon, potentially leading to legal issues in certain contexts. This study examines Thai laws and the ongoing development of European Union (EU) laws regulating and overseeing digital platform businesses, such as the EU E-Commerce Directive 2000/31/EC, the EU Regulation on Platform-to-Business Relations (P2B), the draft Digital Service Act, and the Digital Markets Act, which introduce regulatory principles in the form of ex-post regulatory oversight without registration or licensing systems but rather through requirements for platform service providers to comply with certain criteria and conditions stipulated in the law. Considering these findings, the researchers suggest that regulating digital businesses or activities should be tailored to address specific needs to avoid potential legal conflicts in various contexts. In light of this, it is essential to conduct comprehensive evaluations, draft legislation, and consider legal aspects for further study.</span></div> 2024-06-29T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15378 พฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 2023-07-25T09:22:07+00:00 siwa vichaidit p.twinkle_bloomish@windowslive.com ทิพย์วัลย์ สุรินยา Tippawan@hotmail.co.th นรุตม์ พรประสิทธิ์ Narut@hotmail.co.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว กับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามปัจจัย ส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว กับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับ .01 ผลการศึกษาพบว่า 1) การเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว กับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในระดับปานกลาง 2) นักเรียนมีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่าง ได้แก่ รายได้ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=3.878, p&lt;.05) 3) การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.558, p&lt;.01) ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.807, p&lt;.01) อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขที่อารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.226, p&lt;.01) และความสัมพันธ์ในครอบครัวกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.309, p&lt;.01)<br /><br /></p> <div><a name="_Hlk144828952"></a><span lang="EN-US">The objectives of this study are as follows: 1) to study the level score of self-esteem, emotional quotient, family relationship, and coping behavior of the high school students in Bangkok, 2) to compare the coping behavior of high school students by different personal factors, and 3) to study the relationships between self-esteem emotional quotient relationships and coping behavior of the high school students. Questionnaires were collected from 267 high school students. Statistical analysis consisted of percentage, mean, standard deviation, t-test, One Way ANOVA, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient with statistically significant levels at .05 and .01. The results of this study showed that 1) self-esteem, emotional quotient, family relationship and coping behavior of the high school students in Bangkok were at the middle level, 2) high school students with different incomes had different problem-focused coping (F=3.878, p&lt;.05), self-esteem was positively related to problem-focused coping (r=.558, p&lt;.01), emotional quotient was positively related to problem-focused coping and emotional-focused coping (r=.807, p&lt;.01). In addition, emotional quotient was positively related to emotional-focused coping (r=.226, p&lt;.01) and family relationship was positively related to problem-focused coping (r=.309, p&lt;.01)</span></div> <div><span lang="EN-US">.</span></div> 2024-06-29T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/14742 ทักษะการกำกับตนเองในการเรียนการสอนออนไลน์ของนิสิตครู ในภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2022-10-26T09:59:42+00:00 Supanut Pana supanut.pana@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนออนไลน์ของนิสิตครูสาขาสังคมศึกษา ในภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และวิเคราะห์ทักษะการกำกับตนเองในการเรียนการสอนในภาวะดังกล่าว โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีระยะเวลาการเก็บข้อมูล 4 เดือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับทักษะการกำกับตนเองในการเรียนการสอนออนไลน์ของนิสิตครูในภาวการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้มาจากการเปิดรับอาสาสมัคร จำนวน 112 คน แบ่งเป็น นิสิตหญิง 71 คน นิสิตชาย 41 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) สภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนออนไลน์ของนิสิตครูในภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัวของตน ซึ่งเป็นบ้านพักของตนเองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยแอปพลิเคชันที่คณาจารย์เลือกใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายเป็นอันดับแรก ได้แก่ Zoom Cloud Meetings และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย วิธีการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม และวิธีการสอนแบบอภิปรายเดี่ยวและอภิปรายกลุ่มย่อย ตามลำดับ และ (2) กลุ่มเป้าหมายประเมินว่าตนเองมีทักษะการกำกับตนเองค่อนข้างมาก ในองค์ประกอบที่ 1 การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 ความสามารถในการบริหารการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง องค์ประกอบที่ 5 ความรักในการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 6 ความคิดสร้างสรรค์ และ องค์ประกอบที่ 7 การมองอนาคตในแง่ดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตอยู่ในระดับ 5 ส่วนองค์ประกอบที่ 3 ความริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ และ องค์ประกอบที่ 8 ทักษะสืบค้นและทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมายประเมินว่าตนเองมีทักษะการกำกับตนเองระดับปานกลาง กล่าวคือ มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตอยู่ในระดับ 4<br /><br /></p> <div><span lang="EN-US">This exploratory research aims to study the condition of online learning during the COVID-19 pandemic among social studies pre-service teachers and to analyze self-regulated skills in teaching and learning under such conditions. The data collection period was 4 months. Data were collected by using the self-assessment form on self-regulated skills in online learning of pre-service teachers during the COVID-19 pandemic. The target group is pre-service teachers of Social Studies, freshmen to seniors, at Srinakharinwirot University. The sample consisted of 112 volunteers, 71 female, and 41 male pre-service teachers. The results of the research is as follow: 1) the environment in online teaching and learning of pre-service teachers during the COVID-19 pandemic, most of the pre-service teachers lived with their families in their own home in Bangkok and surrounding areas. The application that lecturers choose to use to manage online teaching for their pre-service teachers first was Zoom Cloud Meetings and most of them use lecture, group processes, and single discussion and small group discussion respectively. and 2) Pre-service teachers assessed that they had relatively high self-regulated skills in component 1: the opportunity for learning, component 2: ability to manage learning management, component 4: responsibility for own learning, component 5: passion of learning, component 6: creativity and component 7: optimistic. The arithmetic mean is at 5. Component 3: initiative and independent learning and component 8: search skills and problem-solving skills the pre-service teachers assessed that they had moderate self-regulated skills, their arithmetic mean were at level 4.</span></div> 2024-06-29T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15565 ความสมดุลชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการทำงานที่บ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-09-15T02:39:24+00:00 อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์ s.atchareeya@gmail.com <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสมดุลชีวิตในการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานที่บ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 30-39 ปี มีสถานภาพสมรสไม่มีบุตร และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-45,000 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านมิติสัมพันธภาพ ด้านมิติความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านมิติการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงานในระดับดี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสมดุลชีวิตในการทำงานในระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พนักงานบริษัทเอกชนที่มีอายุ สถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีสมดุลชีวิตในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านมิติสัมพันธภาพ และด้านมิติการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงานมีผลต่อความสมดุลชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถพยากรณ์ ได้ร้อยละ 44.0 และความสมดุลชีวิตในการทำงานมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่บ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 50.8<br /><br /></p> <div><span lang="EN-US">This research aims to study work environment, work-life balance, and work-from-home efficiency among private company employees during the COVID-19 pandemic crisis in Bangkok. Four hundred questionnaires were collected. The research shows that: most of the respondents were female, aged between 30 and39 years old, married without children, and have an average monthly income between 30,001 to 45,000 baht. The opinions of the work environment in terms of relationship dimensions, personal growth dimensions, and system maintenance and change dimensions are at a good level. The opinions on work-life balance and work-from-home efficiency are at a high level. The result of hypothesis testing found that private company employees with different ages, marital statuses, and average monthly income had a different overall work-life balance at a 0.01 level of statistical significance. The work environment in dimensions of relationship and system maintenance and change influenced the overall work-life balance of private company employees at a 0.01 level of statistical significance and could be explained by adjusted R<sup>2</sup> at 44.0 percent. The work-life balance influenced the work-from-home efficiency of private company employees at a 0.01 level of statistical significance with an adjusted R<sup>2</sup> at 50.8 percent.</span></div> 2024-06-29T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ