วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS
<p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong><strong><br /></strong>1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตคณะสังคมศาสตร์ รวมถึงผู้สนใจทั่วไปได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ<br />2. เพื่อสร้างสรรค์ พัฒนา และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิทยาการวิจัยใหม่ ๆ ทางด้านสหวิทยาการสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong><strong><br /></strong>วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ <br />ISSN: 3027-8694 (Print)<br />ISSN: 3027-8708 (Online) <br />มีกำหนดเผยแพร่วารสารปีละ 2 ฉบับ<br /> ● ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน)<br /> ● ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>สาขาวิชาที่เปิดรับผลงาน<br /></strong> ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การพัฒนาชุมชน รัฐศาสตร์ การปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา นิติศาสตร์ สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม ประชากรศาสตร์ การบริหารและการจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การตลาด สื่อสารมวลชน การบัญชี การเงินและการธนาคาร การจัดการ การจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม การจัดการโลจิสติกส์ สังคมศึกษา สหวิทยาการทางสังคมศาสตร์</p> <p><strong>*** ไม่เสียค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ***<br />(เนื่องจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้สนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้ว)</strong></p> <p> </p>en-USวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ3027-8694ความเข้มแข็งของชุมชนและการพัฒนาเครือข่ายภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน: ศึกษากรณีชุมชนริมคลองแสนแสบ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15658
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้มแข็งของชุมชนริมคลองแสนแสบ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) ศึกษาความต้องการของกลุ่มและเครือข่ายในชุมชนดังกล่าว และ 3) นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารจากหน่วยงานและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ตัวแทนหรือผู้นำชุมชน จากนั้นจะวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการศึกษาโดยการพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแทนชุมชนมองเห็นจุดแข็งที่สำคัญของชุมชนคือ ที่ตั้ง ซึ่งสะดวกต่อการคมนาคม สมาชิกมีความสามัคคี พร้อมช่วยเหลือกิจกรรมส่วนรวม และเล็งเห็นความสำคัญของการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เพื่อพัฒนาชุมชน 2) ตัวแทนชุมชนตระหนักดีว่าการสร้างชุมชนที่ยั่งยืนเป็นเรื่องยาก แต่หากมีองค์กรภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ก็อาจจะสำเร็จได้ และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ประการแรก การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาของชุมชนให้กับคนในชุมชนเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจ และความต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งสำคัญ ประการที่สอง ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในลักษณะเครือข่าย เพื่อการบรรลุเป้าหมายหรือการแก้ไขปัญหาในสังคมที่มีความสลับซับซ้อน ประการสุดท้าย มหาวิทยาลัย<br />ศรีนครินทรวิโรฒควรให้การสนับสนุนชุมชนทั้งในมิติของการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา และกำหนดเป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้กับชุมชนจนกว่าชุมชนจะพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองได้สำเร็จ</p> <p>(This research is a qualitative study with the following objectives: 1) to investigate the strength of the San Saeb Canal communities in the Wattana district of Bangkok, within the framework of sustainable development 2) to study the needs of the communities and networks and 3) to propose policy recommendations by collecting data from relevant organizations, other documents, and conducting interviews with community representatives and leaders. Subsequently, the data will be analyzed using content analysis, and the study's findings will be presented through a synthesis.</p> <p>The research findings reveal that 1) community representatives identify key strengths of the community as its location, which facilitates transportation; unity and active participation in collective activities. Additionally, they recognize the importance of collaborating with external groups in the development and strengthening of the community. 2) Community representatives are aware that building a sustainable community is challenging but feasible with government assistance. 3) Regarding policy recommendations, firstly, raising awareness about community issues among community members is crucial to stimulate recognition, understanding, and the desire to collectively address problems. Secondly, the government, private sector, and civil society must acknowledge the importance of collaboration in a networked fashion to achieve goals or address complex societal issues. Lastly, Srinakharinwirot University should play a pivotal role in supporting communities by providing knowledge and understanding of issues and problem-solving approaches. The University should define a clear mission and role as a central support hub, fostering the creation and development of networks within communities until they can successfully build resilience on their own.)</p>อ.ดร.กุลนันท์ คันธิกอ.ดร.จิราภรณ์ ดำจันทร์รศ.ดร.ศิพิมพ์ ศรบัลลังก์
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-262024-12-26272124124การวิเคราะห์หาพื้นที่ภูมิทัศน์บำบัดเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ พื้นที่ศึกษา: กรุงเทพฯ ชั้นใน
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15630
<p>วิถีชีวิตของคนเมืองเต็มไปด้วยความเหนื่อยล้าในการดำเนินชีวิต ส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาวะของผู้คน หนึ่งใน วิธีที่สามารถช่วยฟื้นฟูจิตใจและส่งเสริมสุขภาวะได้ คือภูมิทัศน์บำบัด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์หาลักษณะ ภูมิทัศน์บำบัดของผู้คนกลุ่มอายุต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และ 2) ระบุตัวอย่างสถานที่ในกรุงเทพมหานคร (เขตชั้นใน) ที่จัดเป็นภูมิทัศน์บำบัดและอธิบายสาเหตุของการเป็นภูมิทัศน์บำบัดของสถานที่เหล่านั้น ศึกษาด้วยวิธีการรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 129 คน ประกอบกับทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้วิธีการทางสถิติ โดยผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ พบว่ากลุ่มอายุที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อลักษณะภูมิทัศน์บำบัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงประเภทสถานที่กับคุณลักษณะของการเป็นภูมิทัศน์บำบัดมีความสัมพันธ์กัน และผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าลักษณะของภูมิทัศน์บำบัดที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูจิตใจในความเห็นของกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มอายุ มีทั้งที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน เช่นเดียวกับผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ ซึ่งลักษณะที่เห็นตรงกันทุกกลุ่ม คือ เป็นพื้นที่ที่ทำให้รู้สึกได้ผ่อนคลาย ปล่อยวาง ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง ทั้งผู้คน ธรรมชาติ สถานที่ สถาปัตยกรรม ส่วนลักษณะที่เห็นแตกต่างกันนั้น เกิดจากความรู้สึกต่อสถานที่ และความคิดความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน</p> <p>(Life in the city is exhausting, it can negatively affect people's health. One of the ways that can help restore the mind and promote well-being is therapeutic landscapes. The objectives of this research are 1) to analyze the therapeutic landscape characteristics defined by different age groups living in Bangkok 2) to identify samples of places in Bangkok (inner district) that can be classified as the therapeutic landscape and explain the reasons for those places. This study collects data using a questionnaire with 129 samples along with in-depth interviews and statistical methods. The statistical method shows that different age groups have significantly different opinions on the therapeutic landscape characteristics and the location for the healing landscape characteristics are also related. The in-depth interview results show that the characteristics of the therapeutic landscape affect mental recovery for the same and different age groups’ opinions are the same with the result from the statistical method. The same opinions for all groups of characteristics are spaces to feel relaxed, let go, and interact with other people, nature, places, and architecture. Even so, the different opinions are caused by the feeling of the places and different beliefs of people.)</p>Nutcha MansinPichaya MoonpunthaPuttaporn Areeprachakun
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-262024-12-26272144144การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการเกิดน้ำท่าในลุ่มน้ำระยอง
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15750
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำระยอง วิธีการวิจัยเริ่มจากการใช้แบบจำลอง Soil and Water Assessment Tool (SWAT) คาดการณ์ปริมาณน้ำท่า โดยสอบเทียบค่าพารามิเตอร์และประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองด้วยข้อมูลน้ำท่าตรวจวัดรายวันในปี 2558-2563 จากนั้นจึงคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำระยองในปี 2570 2575 และ 2580 จากการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2553-2559 ด้วยแบบจำลอง CA-Markov ใน 3 สถานการณ์ ประเมินความน่าเชื่อถือของการจำลองด้วยข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินปี 2563 ผลการศึกษาพบว่าสามารถคำนวณปริมาณน้ำท่าได้ในเกณฑ์พอใช้ในลุ่มน้ำดอกกราย ลุ่มน้ำหนองปลาไหล และลุ่มน้ำคลองใหญ่ โดยมีดัชนี NSE 0.37-0.57 และ R<sup>2</sup> 0.37-0.58 ในขณะที่ลุ่มน้ำทับมา ปริมาณน้ำท่าในช่วงอัตราการไหลสูงมีค่าน้อยกว่าค่าตรวจวัด และลุ่มน้ำบ้านค่ายปริมาณน้ำท่าจากแบบจำลองมีความถูกต้องน้อยที่สุด การใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำระยองในปี 2580 ในสถานการณ์ที่พื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 0.5% และพื้นที่เกษตรกรรมลดลงเฉลี่ยปีละ 0.51% ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้น 25.94% จากปี 2563 ซึ่งมากกว่าสถานการณ์อื่น ๆ การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภท พืชไร่ ยางพารา อุตสาหกรรม และชุมชน ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำท่ามากที่สุดในทุกสถานการณ์จำลอง (R<sup>2</sup> 0.89-0.99) ในระดับลุ่มน้ำย่อยพบว่า ลุ่มน้ำทับมามีปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากปี 2563 เนื่องจากพื้นที่อุตสาหกรรมและชุมชนเพิ่มขึ้นในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมลดลง มี (R<sup>2</sup> 0.7-0.99) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนการใช้ที่ดินแต่ละประเภทกับปริมาณน้ำท่าที่ชัดเจนในลุ่มน้ำย่อยอื่น ๆ</p> <p> (This research investigates the impacts of land use changes on discharge in the Rayong basin. The methodology starts with using the Soil and Water Assessment Tool model (SWAT) to simulate the discharge. The model was calibrated and validated against daily discharge observations between 2558BE to 2563BE. Then, land use projection in 2570BE, 2575BE, and 2580BE was made for the Rayong basin in three scenarios using the CA-Markov model. This land use projection was based on patterns of land use changes from 2553BE to 2559BE. Land use in 2563BE was used to evaluate the reliability of the land use projection. The results show that discharge in the Rayong basin can be satisfactorily simulated with Nash-Sutcliffe Efficiency (NSE) ranging from 0.37 to 0.57 and R<sup>2</sup> from 0.37 to 0.58 in Dok Krai, Nong Pla Lai, and Khlong Yai subbasin. However, the model underestimates the amount of discharge during high flow periods in the Tab Ma subbasin, while the accuracy of discharge simulation is lowest in the Ban Kai subbasin. Land use in 2580BE largely increases the amount of runoff generated in the Rayong basin, particularly in the scenario where the industrial area increases by 0.5% per year and the agricultural area decreases by 0.51% per year, i.e. discharge increases by 25.94% from 2563BE compared to other scenarios. Changes in cropland, rubber plantations, industrial, and residential areas contribute to remarkable increases in catchment discharge in all land use change scenarios (R<sup>2</sup> ranging from 0.89 to 0.99). Tap Ma subbasin shows the largest increase in runoff generation compared to other subcatchments. Relations between the proportion of industrial, residential, and agricultural areas to the amount of runoff generated are very high (R<sup>2</sup> between 0.7 and 0.99). However, these relations in other sub-basins are quite minor.)</p>Patitta KritjirakornEkkamol VannameteeChanita Duangyiwa
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-262024-12-26272158158แนวทางการส่งเสริมความตระหนักของประชาชนเพื่อการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาพื้นที่คลองแสนแสบในท้องที่เขตวัฒนา : ศึกษาพื้นที่คลองแสนแสบในท้องที่เขตวัฒนา
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15778
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงนโยบายของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองแสนแสบ และเพื่อศึกษาถึงแนวทางการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และการบังคับใช้กฎหมายต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม: ศึกษาพื้นที่คลองแสนแสบในท้องที่เขตวัฒนา ได้ศึกษาในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสารและวิจัยจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมุ่งเน้นศึกษาเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองแสนแสบ ในส่วนของกฎหมายต่างประเทศจะศึกษาเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม และการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์คำถามปลายเปิด โดยทำการสัมภาษณ์บุคคลที่อาศัยบริเวณนั้น และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวนทั้งหมด 15 คนโดยวิธีเจาะจง ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่านโยบายและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของรัฐนั้นมีมาตรการทางกฎหมายที่มีความคลุมเครือไม่ชัดเจน ไม่มีผลบังคับใช้และบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ซึ่งประชาชนก็ขาดความรู้ความเข้าใจในมาตรการดังกล่าวด้วย จึงได้ศึกษากฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์ว่ามีกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เพื่อรักษาระดับมาตรฐานของน้ำโดยให้สิทธิประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบเชิงรุกเพื่อทำให้เกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืนต่อการบริหารจัดการน้ำในประเทศ โดยแนวทางการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการบังคับใช้กฎหมายต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมพื้นที่คลองแสนแสบในท้องที่เขตวัฒนาของประเทศไทยควรได้รับการพัฒนาในรูปแบบเชิงรุกสร้างการบูรณาการ เพื่อแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา มีการให้ความรู้แก่ประชาชนและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมนโยบายและกำหนดนโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยอาจนำเอากฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์มาเพื่อเป็นแนวทาง</p> <p> (This research aims to promote knowledge, understanding, and enforcement of environmental laws in the management of the Khlong Saen Saep area in Wattana District. The objectives are to study the government's policies regarding the enforcement of environmental laws, examine legal measures concerning environmental management, and explore strategies for promoting knowledge, understanding, and enforcement of environmental laws in the Khlong Saen Saep area. The study employs a qualitative research approach, utilizing document analysis and in-depth interviews. It focuses on examining various documents related to laws concerning environmental management in the Khlong Saen Saep area. Regarding international laws, the focus is on those related to environmental management and regulation in the Netherlands to analyze appropriate legal enforcement measures. In-depth interviews utilizing open-ended questions were conducted with five residents, five commuters, and five authorities, totaling 15 participants, using purposive sampling. The study findings suggest that the state's policies and legal measures regarding environmental management are inadequate due to unclear and non-enforceable legal measures and a lack of penalties for violators. Consequently, the public lacks an understanding of these measures. Therefore, studying Dutch laws, which enforce standards to involve citizens in sustainable water management, offers insights into the development of proactive approaches to enhance water management in the country. It is suggested that proactive approaches for promoting knowledge, understanding, and enforcement of environmental laws in the Khlong Saen Saep area in the Wattana District of Thailand should be developed to address the current issues. This involves providing education to the public, promoting policies, and establishing collaborative work among all stakeholders. Utilizing Dutch laws as a guideline is recommended.)</p>รศ.ดร.พรเพ็ญ ไตรพงษ์Pitcha JaisomkomRattasapa Chureemas
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-262024-12-26272179179มาตรการทางกฎหมายในการให้บริการรถยนต์ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชัน
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15873
<p>รายงานการวิจัยเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชัน มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายและวิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจการให้บริการรถยนต์ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชัน โดยศึกษานิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการระบบแอปพลิเคชันกับผู้ขับขี่ว่าอยู่ในบังคับของกฎหมายฉบับใด เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาระบบ การขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและเป็นธรรม รวมถึงได้แนวทางในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารไปพร้อม ๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการตีความรวมทั้งกำหนดประเด็นที่สำคัญเพื่อทำการเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป</p> <p> จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าในปัจจุบันมีกฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลในเรื่องของการนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชัน คือ กฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 ซึ่งกรมการขนส่งทางบกเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ การขนส่งสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชันในปัจจุบัน โดยพบว่าผู้ให้บริการระบบแอปพลิเคชันบางรายไม่ยอมเข้ามา ยื่นขอรับรองระบบแอปพลิเคชันตามกฎกระทรวงดังกล่าว เพราะกฎหมายไม่ได้มีบทลงโทษสำหรับผู้ให้บริการระบบ แอปพลิเคชันที่ไม่ได้เข้ามายื่นขอรับรองระบบแอปพลิเคชันไว้ ดังนั้น กรมการขนส่งทางบกควรมีการกำหนดมาตรการ จูงใจหรือบทลงโทษกับผู้ให้บริการระบบแอปพลิเคชันที่ไม่ยอมเข้ามายื่นขอรับรองตามกฎกระทรวง ส่วนแนวทางในการพัฒนาการให้บริการรถยนต์ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชันที่เหมาะสมในยุคปัจจุบัน ไม่ควรกำหนดให้ ผู้ขับขี่ที่ต้องการจะเข้ามาอยู่ในระบบการขนส่งสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชันจะต้องนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมา จดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์รับจ้างผ่านระบบแอปพลิเคชันเพราะเป็นการสร้างภาระให้ผู้ขับขี่ต้องนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาจดทะเบียนเปลี่ยนประเภท แต่ควรเปลี่ยนเป็นการนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาจดแจ้งเพื่อให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชันแทน นอกจากนี้พบว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการระบบแอปพลิเคชันและผู้ขับขี่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่ง โดยรูปแบบการให้บริการมีลักษณะเป็นการตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยนิติสัมพันธ์ดังกล่าวไม่เป็นไปตามลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ สัญญานายหน้า สัญญาหุ้นส่วนหรือสัญญารับขนคนโดยสารแต่อย่างใด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความรับผิดชอบระหว่างผู้ใช้บริการ กับผู้ให้บริการระบบ แอปพลิเคชันและผู้ขับขี่ในอนาคตได้</p> <p>(The research reports legal measures for public transportation services through applications. The objective of this research is to study the legal measures and analyze related problems of the state agencies responsible for supervising public transportation services through applications. This is done by studying legal relations between the application system service providers and the drivers to find which laws can effectively be enforced to set up guidelines for developing appropriate and fair public transportation systems in the future. This qualitative research employs document data analysis together with field work data and in-depth interviews with those who provided public transportation services. The acquired data were subjected to overall interpretation and used to pinpoint key issues to propose guidelines for solving problems.</p> <p>The research shows that the present law supervising public transportation services through the application systems is the Ministerial Regulation Re: Ride-Hailing Vehicle via an Electronic System B.E. 2564 (2021), currently under the supervision and enforcement of the state agency, namely, the Department of Land Transportation on public transportation services through the application systems. This research reveals that some application service providers refuse to submit applications required by the said ministry because such law has never imposed legal punishment for the application system service providers who failed to comply with the application system requirements. Therefore, the Department of Land Transportation should set up measures to motivate or punish the application service providers who refuse to submit the system applications in accordance with the ministerial rules. As for developing guidelines for “Ride-Hailing Service Vehicle via an Electronic System” appropriate measures for the present era, the guidelines should not require the drivers to register changing personal vehicle to the Ride-Hailing Service Vehicle via an Electronic System because it would create a burden for the registered drivers. Instead, it should register changing to passenger transportation services through an Electronic System. Furthermore, the findings suggest the legal relations between the application services providers and the drivers as one type of bilateral contract that the service model is characterized by reciprocal obligations, having such legal relations does not conform with the nature of the following contracts: labor contract, contract for making goods, brokerage contract, partnership contract or carriage of passengers contract which may impact the responsibilities between the service recipients and application service providers and potential drivers in the future.)</p>Sirinporn Tharamut
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-262024-12-26272193193การออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15912
<p>การเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (MOOC) ในประเทศไทยมีผู้สนใจและเข้าใช้งานมากขึ้นกว่าเท่าตัวในปีที่ผ่านมา แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากระบบเหล่านี้ยังมีอยู่จำกัด ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยด้านการจัดโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ ที่อาจมีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ ได้แก่ การแสดงผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างชัดเจนไว้ตอนต้น, การจัดลำดับเนื้อหา, การแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อยแบบมีโครงสร้าง, และการมีส่วนการอภิปราย ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (2) เพื่อสร้างแบบจำลองผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (Technology Acceptance Model) การวิจัยนี้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบและออกแบบโครงสร้างรวมถึงเนื้อหาการเรียนการสอนบน MOOC โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ตามบทบาทของผู้เชี่ยวชาญ ผสมผสานกับการสุ่มแบบลูกโซ่ จำนวน 10 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านทางแอพพลิเคชัน Zoom ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี MOOC และสามารถสร้างแบบจำลองผลกระทบของปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยี MOOC สำหรับในอนาคต คณะผู้วิจัยอาจขยายกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์ หรือศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน</p> <p>(While the adoption of Massive Open Online Courses (MOOCs) in Thailand has doubled in the past year, research has continued to reveal their limited success, which can be attributed to multiple factors. We contribute to clarifying this underperformance by investigating how the structuring of content might affect the student acceptance of MOOCs. Specifically, our objectives are (1) to study how displaying clear learning goals, logically ordering the content, dividing the content into small-structured units, and organizing discussion forums might promote student acceptance, and (2) to build a technology acceptance model (TAM) of this relationship. We conducted in-depth interviews on Zoom with 10 experts who have taken varying key roles in developing MOOCs, using purposive and snowball sampling techniques. We find that structuring does indeed influence student acceptance and that TAM can help clarify this effect. Future works may diversify the panel of interviewees or investigate other factors on academic achievement.)</p>Sununta KotchasarnLakkana KidbunjongMayuree Srikulwong
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-262024-12-26272209209การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายด้านสุขภาพของผู้สูงอายุช่วงการระบาดโควิด 19 ของไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15631
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบนโยบายด้านสุขภาพผู้สูงอายุช่วงการระบาดโควิด 19 ของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเน้นด้านสุขภาพจิตและการส่งเสริมการรับวัคซีนโควิด 19 ของไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษของหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ และสามารถสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขภาพจิตและการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของผู้สูงอายุช่วงการระบาดโควิด 19 ระหว่างพ.ศ. 2563-2565 ของทั้ง 3 ประเทศ ผลการวิจัยพบว่า นโยบายด้านสุขภาพจิตช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 ของผู้สูงอายุของทั้ง 3 ประเทศมีความแตกต่างกัน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ต่างจังหวัด และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) กรุงเทพมหานคร ของไทยใช้วิธีการการลงเยี่ยมบ้าน และการสื่อสารทางโทรศัพท์ ภายใต้แนวคิด “ลดอารมณ์ลบ เพิ่มอารมณ์บวก” เพื่อให้ผู้สูงอายุคลายความกังวล และเกิดความสบายใจมากขึ้น ในขณะที่ญี่ปุ่นและสิงคโปร์กำหนดแนวทางการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุผ่านการจัดโครงการหรือกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุแบบออนไลน์และรายการโทรทัศน์ สำหรับการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของผู้สูงอายุชาวไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ได้ระบุกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญลำดับแรกได้รับวัคซีนโควิด 19 ไม่มีค่าใช้จ่าย และได้รับการฉีดเข็มกระตุ้น</p> <p>(This research aims to study and compare health policies for the elderly during the COVID-19 pandemic in Thailand, Japan, and Singapore by focusing on mental health and promoting COVID-19 vaccination. This research employs a qualitative methodology using a document search on the internet in Thai and English of responsible government agencies from 2020 to 2022.</p> <p>The research shows that the mental health policies during the COVID-19 pandemic for the elderly in the three countries are different. Village health volunteers (VHVs) in provincial areas and public health volunteers (PHVs) in Bangkok Metropolitan Administration (BMA) of Thailand use the method of home visits and telephone communication under the concept of “reducing negative emotions, increasing positive mood” to relieve the elderly's stress and become more comfortable. Meanwhile, Japan and Singapore set mental healthcare programs or activities for the elderly online and on television. As a part of the COVID-19 vaccination, the elderly of these three countries were prioritized as the first target group to receive the COVID-19 vaccine at no cost and received constant stimulating injections.)</p>Hathairat Marpraneet
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-262024-12-26272223223การพัฒนาการคิดทางประวัติศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับเทคนิค 5W1H ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/15719
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของการคิดทางประวัติศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้<br />แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับเทคนิค 5W1H และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับเทคนิค 5W1H กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 <br />โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 33 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยดำเนินการวิจัยตามวงจร PDCA ซึ่งมีเครื่องมือ<br />ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินการคิดทางประวัติศาสตร์ และ 3) แบบประเมิน<br />ความพึงพอใจ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวัดคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีพัฒนาการการคิดทางประวัติศาสตร์ระดับสูงมาก (GS=78.60%) และมีการคิดทางประวัติศาสตร์ระดับมากที่สุด ( = 13.61, S.D. = 1.01) 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับเทคนิค 5W1H ร้อยละ 81.60 หรือ นักเรียนมีความพึงพอใจระดับมาก ( =4.08, S.D. = 0.89)</p> <p> (This research aims to 1) develop historical thinking skills by using the jigsaw cooperative learning and 5W1H techniques and 2) study student satisfaction with the jigsaw cooperative learning and 5W1H techniques. Using purposive sampling method, the targeted group of this research includes 33 Matthayomsuksa 2/7 students from Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary) in the first semester of the 2023 academic year. This research is done according to the Deming cycles (PDCA). The research instruments include the following: 1) learning management plans 2) an assessment form on historical thinking and 3) a questionnaire on student satisfaction with the jigsaw cooperative learning and 5W1H techniques. The statistical analysis includes means, standard deviation, and statistics measuring relative development scores. The research shows two aspects. Firstly, the development of historical thinking skills of students is at a very high level (GS=78.60%) and has a very good level of historical thinking skills ( = 13.61, S.D. = 1.01). Secondly, 81.60 percent of the students are satisfied with the jigsaw cooperative learning and 5W1H techniques, that is, students have a high level of satisfaction ( = 4.08, S.D. = 0.89))</p>Atthakorn Chanphlaอ.ดร.อชิระ อุตมาน
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-262024-12-26272235235