ปัจจัยองค์ประกอบด้านนวัตกรรมที่ส่งผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
Innovative Component Factors Affecting Job Performance of Supporting Staff Affiliated with the Institute of Molecular Biosciences, Mahidol University
Keywords:
องค์ประกอบด้านนวัตกรรม, บุคลากรสายสนับสนุน, สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลAbstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยองค์ประกอบด้านนวัตกรรมที่ส่งผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและทำการวิเคราะห์ผลการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ประชากรได้แก่บุคลากรสายสนับสนุนของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 48 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ของนวัตกรรม ทัศนคติที่มีต่อการใช้นวัตกรรม การรับรู้ความยากง่ายในการนำนวัตกรรมมาใช้ การได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และความคาดหวังจากประสิทธิภาพของนวัตกรรม เมื่อวิเคราะห์ผลการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน เพื่อพยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์ประกอบด้านนวัตกรรม พบว่า มีตัวแปร 2 ตัวเท่านั้นที่สามารถใช้พยากรณ์ ได้แก่ ความคาดหวังจากประสิทธิภาพของนวัตกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .930 (R2=.865) อธิบายความหมายได้ว่าสามารถใช้ทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์ประกอบด้านนวัตกรรม ได้ร้อยละ 93.0 เมื่อพิจารณาตามสมการพยากรณ์พบว่ามีความคาดหวังจากประสิทธิภาพของนวัตกรรมสูงแล้ว จะมีแนวโน้มส่งผลให้มีองค์ประกอบด้านนวัตกรรม สูงขึ้นด้วยReferences
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
นงนภัส คู่วรัญญ เที่ยงกมล. (2551). การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์
สิริภักตร์ ศิริโท, รัตติญา ละเต็บซัน, และวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล. (2560). ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร MUT Journal of Business Administration. 14(1): 159-177.
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564, จาก https://mb.mahidol.ac.th/th/history/
องค์กร ประจันต์เขตต์. (2557). องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหาร การศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(1): 45-51.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ชลบุรี: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Anderson, N., Potocnik, K., & Zhou, J. (2014). Innovation and Creativity in Organizations: A State of the Science Review, Prospective Commentary and Guiding Framework. Journal of Management. 40(5): 1297-1333.
Antonio, A. S., Gregorio, S. M., & Arleen, M. M. (2015). The Mediating Effect of Human Resource Practices on Knowledge Management and Firm Performance. Journal of Social and Behavioral Sciences. 24(3): 138-148.
Chen, C., & Huang, J. (2009). Strategic Human Resource Practices and Innovation Performance the Mediating Role of Knowledge Management Capacity. Journal of Business Research. 62(1): 104-114.
Luecke, R., & Katz, R. (2003). Harvard Business Essentials: Managing Creativity and Innovation. Boston: Harvard Business School Press.
Mine, A. F., Ugur, Y., & Yasin, R. (2015). Examining Organizational Innovation and Knowledge Management Capacity the Central Role of Strategic Human Resources Practices (SHRPs). Journal of Social and Behavioral Sciences. 181: 377-387.
Salmi, T. (2009). The Challenge of Establishing World-Class Universities. Washington DC.: The World Bank.