การพัฒนารูปแบบความร่วมมือในการแก้ปัญหาการลักลอบขนยาเสพติด ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย

Developing a Cooperation Model in Solving the Problem of Drug Trafficking along the Thai-Malaysian Border

Authors

  • ปรีชญาณ์ นักฟ้อน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ความร่วมมือ, เครือข่ายนโยบาย , การลักลอบขนยาเสพติด , ชายแดนใต้

Abstract

          บทความนี้มุ่งนําาเสนอรูปแบบความร่วมมือในการแก้ปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Document Analysis) ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากการมีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดําาเนินงานด้านการแก้ปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย เพื่อนําามาวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปผลการศึกษาและจัดทําาข้อเสนอแนวทางการสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซียที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรม โดยจากผลการศึกษาพบว่า การดําาเนินงานด้านการสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซียของหน่วยงานภายในประเทศมีลักษณะเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายนโยบาย เพื่อมุ่งสร้างกลไกการแก้ปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซียอย่างเป็นระบบ ภายใต้การจัดการกระบวนการนโยบายสาธารณะในเชิงเครือข่าย ตั้งแต่การกําาหนดเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน การจัดตั้งคณะทําางาน การจัดการทรัพยากรในการดําาเนินงาน การกําาหนดความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ พร้อมทั้งผลักดันให้มีการแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งการพัฒนาความรู้และทักษะเจ้าหน้าที่ภาครัฐภายในเครือข่ายอย่างสมํา่าเสมอและต่อเนื่อง สําาหรับความร่วมมือภายใต้กรอบระหว่างประเทศ ควรกําาหนดแนวทางความร่วมมือทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น บนพื้นฐานของข้อมูลเกี่ยวกับกรอบนโยบายภายในประเทศ และกลไกการดําาเนินงานด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดของแต่ละประเทศ สําาหรับความร่วมมือในระดับปฏิบัติการ ควรอยู่บนพื้นฐานของการจัดการเครือข่ายสาธารณะ ทั้งการกําาหนดเป้าหมายร่วมกันจากข้อมูลสถานการณ์ปัญหาและบริบทแวดล้อมในการทําางานของหน่วยงานทั้งสองประเทศ ตลอดจนกําาหนดส่วนงานและขอบเขตการดําาเนินงานที่สามารถสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่ให้ชัดเจน เพื่อนําาไปสู่การจัดกลไกความร่วมมือย่อยระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม

References

นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทํางาน: ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัชรี สิโรรส. (2557). การจัดการปกครองและนโยบายสาธารณะ. วารสารการเมืองการปกครอง.4(2): 1-12.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2552). การบริหารปกครองกับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ. ในการบริหารปกครองสาธารณะ: การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. บรรณาธิการ อัมพร ธํารงลักษณ์. หน้า 62-84. กรุงเทพฯ: โครงการตําราและสิ่งพิมพ์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทํางานขององค์กรปกครองท้องถิ่น บทวิเคราะห์ว่าด้วยการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแนวระนาบเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ. กรุงเทพฯ: ซีโน ดีไซน์.

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2549). ทศวรรษความรุนแรงภาคใต้: ปฏิกิริยาลูกโซ่ต้านอํานาจรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563, จาก http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID

สัมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2548). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). วัฒนธรรมองค์กรของโลกยุคใหม่: เครือข่ายยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

อัมพร ธําารงค์ลักษณ์. (2553). การปกครองสาธารณะ: การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21 Public Governance. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bevir, M. (2010). Democratic Governance. Princeton, NJ.: Princeton University Press.

Heartfield, J. (2013). The European Union and the End of Politics. Winchester: Zero Book.

Frederickson, George H; & Smith, Kevin B. (2003). The Public Administration Theory Primer. Colorado: Westview Press.

UNODC. (2011). Estimating Illicit Financial Flows Resulting from Drug Trafficking and Other Transnational Organized Crimes: Research report. Vienna: UNODC.

Downloads

Published

2024-04-29