การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และตรรกศาสตร์คลุมเครือ เพื่อจำแนกลำ ดับศักย์ของถนน: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Application of GIS and Fuzzy Logic for Road Hierarchy Classification: A Case Study of Ayutthaya Province

Authors

  • สิทธิพงค์ กลิ่นกระจาย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, การจําาแนกลําาดับศักย์ของถนน, ตรรกศาสตร์คลุมเครือ, กระบวนการลําาดับชั้นเชิงวิเคราะห์

Abstract

           พระราชบัญญัติทางหลวงแบ่งประเภทถนนในประเทศไทยตามหน่วยที่ดูแลรับผิดชอบเป็นหลัก แต่เนื่องด้วยประโยชน์การใช้งานมีความแตกต่างกันทั้งการบริการ การเคลื่อนที่ของการจราจร และ การเข้าถึงพื้นที่ ซึ่งจะสะท้อนการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอยของถนนแต่ละสาย ส่งผลถึงการบำรุงรักษา การออกแบบ การวางผังคมนาคม และการกำ หนดมาตรการควบคุมความเร็วที่เหมาะสมกับหน้าที่ ของถนนแต่ละประเภท ดังนั้น การจำแนกถนนตามหน้าที่การใช้งานจริง จะช่วยให้การวางแผนงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาและจำแนกลำดับศักย์ของถนนตามหน้าที่ การใช้งานจริง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับตรรกศาสตร์คลุมเครือ และกระบวนการ ลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่าทางหลวงแผ่นดินมีหน้าที่การใช้งานจริงตามลำดับศักย์ทั้ง4ลำดับ ได้แก่ ทางสายประธาน ทางสายหลัก ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายหลัก (ร้อยละ 44) ทางหลวงชนบท มีการใช้งานจริงใน 2 ลำดับ ได้แก่ ทางสายรอง และทางสายย่อย โดย ส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย (ร้อยละ 72) สำ หรับทางหลวงท้องถิ่น มีการใช้งานจริงใน 3 ลำดับ ได้แก่ ทางสายหลัก ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย (ร้อยละ 98) ทั้งนี้จาก การจำแนกถนนทั้งหมดตามลำดับศักย์ของหน้าที่การใช้งานจริง พบว่าเป็นทางสายประธาน ร้อยละ 2 ทางสายหลัก ร้อยละ 5 ทางสายรอง ร้อยละ 9 และส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย ร้อยละ 84 ตามลำดับ

References

พยุง มีสัจ. (2551). ระบบฟัซซีและโครงข่ายประสาทเทียม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2542). AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ: กราฟฟิค แอนด์ ปริ๊นติ้ง.

สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2559). โครงการจัดทําาแผนพัฒนามาตรฐานด้านการจัดระบบการจราจรในเมืองภูมิภาค. กรุงเทพฯ: สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม.

สํานักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น. (2556). โครงการจัดทําาฐานข้อมูลทางหลวงท้องถิ่น และการบูรณาการโครงข่ายทาง. กรุงเทพฯ: สําานักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น (สสท.) กระทรวงคมนาคม.

AASHTO. (2011). A Policy on Geometric Design of Highways and Streets. Retrieved on May 1, 2020, from https://www.academia.edu/31621593/A_Policy_on_Geometric_Design_of Highways_and_Streets

Olsen, Eppell & Partners. (2001). A Four Level Road Hierarchy for Network Planningand Management. Retrieved on May 1, 2020, from https://pdfs.semanticscholar.org/9e38/ b95b93aafceafe8eaefe0a9d04e018d87d64.pdfSaaty, T.L. (2008). Decision Making with the Analytic Hierarchy Process. International Journal of Services Sciences, 1(1): 83-98.

Zadeh, L. A. (1965). Fuzzy Sets. Information and Control, 8(3): 338-353.

Downloads

Published

2024-04-29