พฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Coping Behavior of High School Students in Bangkok
Keywords:
การเห็นคุณค่าในตนเอง, ความฉลาดทางอารมณ์, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, พฤติกรรมการเผชิญปัญหา, นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว กับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามปัจจัย ส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว กับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับ .01 ผลการศึกษาพบว่า 1) การเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว กับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในระดับปานกลาง 2) นักเรียนมีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่าง ได้แก่ รายได้ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=3.878, p<.05) 3) การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.558, p<.01) ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.807, p<.01) อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขที่อารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.226, p<.01) และความสัมพันธ์ในครอบครัวกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.309, p<.01) The objectives of this study are as follows: 1) to study the level score of self-esteem, emotional quotient, family relationship, and coping behavior of the high school students in Bangkok, 2) to compare the coping behavior of high school students by different personal factors, and 3) to study the relationships between self-esteem emotional quotient relationships and coping behavior of the high school students. Questionnaires were collected from 267 high school students. Statistical analysis consisted of percentage, mean, standard deviation, t-test, One Way ANOVA, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient with statistically significant levels at .05 and .01. The results of this study showed that 1) self-esteem, emotional quotient, family relationship and coping behavior of the high school students in Bangkok were at the middle level, 2) high school students with different incomes had different problem-focused coping (F=3.878, p<.05), self-esteem was positively related to problem-focused coping (r=.558, p<.01), emotional quotient was positively related to problem-focused coping and emotional-focused coping (r=.807, p<.01). In addition, emotional quotient was positively related to emotional-focused coping (r=.226, p<.01) and family relationship was positively related to problem-focused coping (r=.309, p<.01) .References
กรมสุขภาพจิต. (2563). เปิดสถิติ วัยรุ่นไทยขอคำปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 มากที่สุดปัญหา ความเครียดอันดับ 1. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก www.thaipost.net/main/detail/56782
_______. (2564). สุขภาพจิตวัยรุ่น เรื่องใหญ่กว่าที่คิด. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2565, จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30744
_______. (2565). กรมสุขภาพจิตแนะแนวทางป้องกันหรือลดความรุนแรงในครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2565, จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31516
กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). สำรวจข้อมูลสถิติสภาวการณ์ทางวัฒนธรรมของเด็กและเยาวชนไทยที่ผ่านมาเผยพบปัญหา 6 ด้านหลัก. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://www.thaihealth.or.th.
กาญจนาวดี บูชากุล ทิพย์วัลย์ สุรินยา และสุปาณี สนธิรัตน. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์ การจัดการความเครียด และพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ. 7(9): 112-126.
จินดานุช เถกิงเกียรติ. (2558). เชาว์อารมณ์ พฤติกรรมการเผชิญความเครียด และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กรมการทหารสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ นิดา ลิ้มสุวรรณ ศิริไชย หงส์สงวนศรี และ บัญญัติ ยงย่วน. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 66(1): 53-68.
พินาลิน เพ็ญทอง ไชยนันต์ แท่งทอง สรา อาภรณ์ สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ และ จุฑาธิป ศีลบุตร. (2564). ระดับความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉิน. พยาบาลสาร. 48(4): 93-108.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2565, จาก http://old.rmutto.ac.th/rmuttonews/attachment/TR3332 235442.pdf
Coopersmith, S. (1981). The Antecedents of Self-esteem. California: Consulting Psychologist Press.
Crandall, RC. (1980). A Behavioral Science Approach. Massachusetts: Addison-Wesley.
Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence : Why it Can Matter More Than IQ. New York: Bantman Book.
Lazarus, R.S. & Folkman, S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Springer.
Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.
Pope, Alice W.; McHale, Susan; & Craighead, W. Edward. (1988). Self-esteem Enhancement with Children and Adolescents. New York: Pergamon Press.