การพัฒนาวิธีการพยากรณ์ผลการเลือกตั้งด้วยการประยุกต์วิธีของพาเวีย

Develop the Methods of Forecasting ElectionResults by Applying Pavia’s Method

Authors

  • ณัฐพล แย้มฉิม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภัทราวดี มากมี วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กนก พานทอง วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การพยากรณ์, ผลการเลือกตั้ง, พาเวีย, โพล

Abstract

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการพยากรณ์ผลการเลือกตั้งด้วยการประยุกต์วิธีของ พาเวีย และเพื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ผลการเลือกตั้งระหว่างวิธีของพาเวีย และการประยุกต์วิธีของพาเวีย กับผลการเลือกตั้งจริง เป็นการนำแนวทางการพยากรณ์ผลการเลือกตั้ง ของพาเวียที่ใช้ข้อมูลการสำ รวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (โพล) มาใช้ในการพยากรณ์ผลการ เลือกตั้ง โดยการพัฒนาครั้งนี้ได้ใช้ตัวแปรส่วนบุคคลเข้ามาช่วยพัฒนาการพยากรณ์ให้มีความถูกต้อง มากขึ้น ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาการพยากรณ์การเลือกตั้งครั้งนี้ใช้ข้อมูลการสำ รวจความคิดเห็นก่อน การเลือกตั้งจากการดำ เนินการสำ รวจของสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่สำ รวจความคิดเห็น ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 33 เขตเลือกตั้ง ได้กลุ่มตัวอย่างจำ นวน 19,130 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยโลจิสติค และการ ทดสอบความคลาดเคลื่อนโดยใช้ผลรวมค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่าจริงกับค่าพยากรณ์

References

ทวีป กิตยาภรณ์. (2554, 8 กรกฎาคม). Exit Poll กับคะแนนจริงคําาที่อาจอธิบายว่าทําาไมจึงต่างนัก. มติชน, 34(12172): 7.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2554, 7 กรกฎาคม). ตามดูผลโพล. มติชน, 34(12171): 7.

Fair, R. C. (1978). The Effect of Economic Events on Votes for President. The Review of Economics and Statistics, 60(2): 159-173.

Brown, L. B., & Chappell Jr, H. W. (1999). Forecasting Presidential Elections Using History and Polls. International Journal of Forecasting, 15(2): 127-135.

Jones Jr, R. J. (2008). The State of Presidential Election Forecasting: The 2004 Experience.International Journal of Forecasting, 24(2): 310-321.

Hummel, P., & Rothschild, D. (2013). Fundamental Models for Forecasting Elections.Retrieved on October 10, 2019, from https://www.aeaweb.org/conference/2013/retrieve.php?pdfid=88

Pavia, J. M. (2005). Forecasts from Nonrandom Samples: The Election Night Case. Journal of the American Statistical Association, 100(472): 1113-1122.

_________. (2010). Improving Predictive Accuracy of Exit Polls. International Journal of Forecasting, 26(1): 68–81.

Pavia, J. M., & Larraz, B. (2008). Quick Counts from Non-Selected Polling Stations. Journal of Applied Statistics, 35(4): 383–405.

Downloads

Published

2024-04-29