Health Promoting Behaviors among Family Caregivers of Patients with Heart Failure

Authors

  • จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์
  • เจริญ ตรีศักดิ์
  • Juntima Rerkluenrit
  • Charoen Treesak

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่คัดสรร การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ปฏิบัติ กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยบรรยายเชิงความสัมพันธ์ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว จำนวน 322 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง 3)แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 4) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 5) แบบสอบถามความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ปฏิบัติ และ 6) แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งแบบสอบถามผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 2 – 6 มากกว่า 0.80 ทุกฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายแสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า และสหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในวัยผู้ใหญ่ ระยะเวลาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 1 - 4 ปี พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่คัดสรรส่วนใหญ่และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในขณะที่การรับรู้ความสามารถของตนเองและความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วย ส่วนโรคประจำตัวและการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแล สรุป: พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถของตนเองและความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม และสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ข้อค้นพบนี้อาจใช้ชี้นำการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว โดยเน้นส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ดูแล คำสำคัญ: ญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ   Abstract Objective: To examine the associations between the health-promoting behaviors among family caregivers of the patients with heart failure and select personnel factors, perceived self-efficacy, perceived benefits of action, perceived barriers to action, and attitude towards action. Methods: This descriptive correlational study recruited a sample of 322 participants. The questionnaires included 1) the Personnel Data Questionnaire, 2) the Perceived Self-Efficacy Questionnaire, 3) the Perceived Benefits of Action Questionnaire, 4) the Perceived Barriers to Action Questionnaire, 5) the Attitude towards Action, and 6) the Health-Promoting Behavior Questionnaire were used for data collection. All parts of a questionnaire have been validated by three experts. The reliabilities of questionnaires parts 2 to 6 yielded a high internal consistency reliability with Cronbach’s alpha coefficients greater than 0.80 in each part. Data were analyzed by using descriptive statistics, eta coefficient, and Pearson’s product moment correlation coefficient, with P < 0.05 as a statistical significance level. Results: Most of the participants were female adults. They reported 1 – 4 years of caregiving experience. Most of the select personnel factors and perceived benefits of action were not associated with the health-promoting behaviors. Although perceived self-efficacy and attitude towards action were significantly positively associated with the health-promoting behaviors, their underlying diseases and perceived barriers to action were significantly negatively associated with the health-promoting behaviors. Conclusion: Health-promoting behaviors among caregivers of heart failure patients were positively associated with perceived self-efficacy and attitude towards action, and negatively related to perceived barriers to action. The findings could guide the intervention to enhance health-promoting behaviors among these caregivers by promoting their perceived self-efficacy to perform health-promoting behaviors. Keywords: Family caregivers, patients with heart failure, health-promoting behaviors

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads