ผลของการเสริมสร้างศักยภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความร่วมมือในการรักษาและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด Effects of Patient Empowerment on Self-efficacy, Adherence and Glycemic Control in Patients with Type 2 Diabetes
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของการเสริมสร้างศักยภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง (self-efficacy หรือ SE) ความร่วมมือในการรักษา และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด วิธีการศึกษา: เป็น nonrandomizedcontrolled-group pretest posttest design ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่มีศักยภาพการดูแลตนเองระดับเร่งด่วนปานกลาง ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลแก่งกระจาน เพชรบุรี กลุ่มทดลอง (31 คน) ได้ร่วมกิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพเดือนละ 1 ครัง้ ติดต่อกัน 3 เดือน กิจกรรมหลักมี 4 ด้าน คือinformation sharing, pharmacist-patient communication, choice และ shareddecision making เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุมที่รับบริการตามปกติ (25 คน)ผลการศึกษา: หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนน SE ระดับ HbA1c และ FBSดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (คะแนน SE จาก 62.6 ± 12.8 เป็น 71.5 ± 7.2, P< 0.001; HbA1C จาก 8.3 ± 1.5% เป็น 7.7 ± 1.1%, P = 0.002; FBS จาก180.4 ± 34.2 mg/dl เป็น 152.9 ± 44.8 mg/dl, P = 0.001) และเมื่อสิ้นสุดการศึกษา กลุ่มทดลองมีค่าคะแนน SE และระดับ HbA1c ดีกว่ากลุ่มควบคุม(คะแนน SE 64.7 ± 7.8, P = 0.001; HbA1c 8.7 ± 1.7%, P = 0.047, ตามลำดับ)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระดับ FBS ไม่แตกต่างกัน (P = 0.180) ร้อยละ 26ของกลุ่มทดลองสามารถควบคุมระดับ HbA1c < 7 ได้ตามเป้าหมาย สูงขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.001) กลุ่มทดลองมีแนวโน้มร่วมมือในการใช้ยาสูงขึ้นแต่มาไม่ตรงนัดสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ต่างจากกลุ่มควบคุม สรุป:กระบวนการและกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้ป่วยมีผลให้การรับรู้ความสามารถของตนเองและค่า HbA1c ดีขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนความร่วมมือในการใช้ยาและค่าFBS มีแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังชัดเจนคำสำคัญ: การเสริมสร้างศักยภาพผู้ป่วย, การรับรู้ความสามารถตนเอง, ความร่วมมือในการรักษา การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดAbstractObjective: To examine the effects of patient empowerment on self-efficacy(SE), adherence and glycemic control in patients with type 2 diabetes atKrangkrachan hospital, Phetburi. Method: The study was a nonrandomizedcontrolled-group pretest posttest design conducted in diabeticout-patients with moderate level of self-care competency. Outcomes of thestudy group (n = 31) who attended series of patient empowerment activitiesonce a month in 3 consecutive months were compared to the control groupreceiving conventional care (n = 25). The 4 main empowerment activitiesincluded information sharing, pharmacist-patient communication, choice,and shared decision making. Results: Compared to the baseline, resultsshowed significant improvement of the study group’s SE, HbA1c level andFBS level (SE score from 62.6 ± 12.8 to 71.5 ± 7.2, P < 0.001; HbA1Cfrom 8.3 ± 1.5% to 7.7 ± 1.1%, P = 0.002; FBS from 180.4 ± 34.2 to 152.9± 44.8 mg/dl, P = 0.001). SE and HbA1c at the study end in study groupalso significantly differed from those in control group (control group: 64.7 ±7.8 and HbA1C 8.7±1.7%, P = 0.001 and 0.047, respectively), with nodifference on FBS level (P = 0.180). A total of 26% of study group reachedtarget HbA1c < 7 (P < 0.001). The study group tended to have higher drugadherence, but lower appointment adherence; with no statisticalsignificance. Conclusion: For type 2 DM patients, empowerment activitiesimproved self-efficacy and HbA1c level, with less effect on drug adherenceand FBS level.Keywords: patient empowerment, self-efficacy, adherence, glycemiccontrolDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์