Endocannabinoid System
Abstract
Endocannabinoid system (ECS) เป็นระบบทางสรีรวิทยาที่พบทั่วไปในร่างกาย ทั้งในระบบประสาทส่วนกลางและระบบส่วนปลายโดย ECS มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการกินอาหาร น้ำหนักตัว และกระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในร่างกาย endocannabinoids หรือ endogenous cannabinoids หมายถึง สารที่ร่างกายสร้างขึ้นและสามารถจับกับ cannabinoid receptor (CB receptor) ซึ่ง endocannabinoids ที่สำคัญในร่างกาย ได้แก่ anandamide (arachidonylethanolamide; AEA) และ 2-arachidonoyl-glycerol (2-AG) ECS มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมสมดุลของพลังงานในร่างกาย ผ่านทางการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางต่อการกินอาหาร และผ่านทางการควบคุมของระบบส่วนปลายต่อการสร้างไขมัน การจับของ endocannabinoid ที่ CB1 receptor ในระบบประสาทส่วนกลางจะมีบทบาทต่อการควบคุมการกินอาหาร ความอิ่ม ความเจ็บปวด ความจำ การติดยา และการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ การจับของ endocannabinoid ที่ CB1 receptor ที่อวัยวะรอบนอก เช่น ตับ กล้ามเนื้อ ทางเดินอาหาร เนื้อเยื่อไขมัน และ Islets of Langerhans ของตับอ่อน มีบทบาทต่อการควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมันและกลูโคส เพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในร่างกาย ในขณะที่การจับของ endocannabinoid ที่ CB2 receptor ในระบบภูมิคุ้มกัน ไม่มีบทบาทควบคุมการกินอาหาร แต่มีผลควบคุมการหลั่ง cytokine ในระบบภูมิคุ้มกัน ผลการทดลองทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์แสดงความสัมพันธ์ของภาวะอ้วนกับการทำงานที่มากเกินของ ECS โดยพบ ECS ที่ผิดปกติในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีปริมาณ endocannabinoids ใน serum สูงกว่าผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ภาวะ ECS ทำงานมากเกินของไม่เพียง แต่กระตุ้นการสะสมไขมันในเซลล์ไขมัน แต่ยังสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่ออินซูลิน glucose intolerance ระดับ triglycerides ในเลือดสูง อีกทั้งระดับ HDL-C ในเลือดต่ำ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิด cardiometabolic diseasesคำสำคัญ: endocannabinoid system, endocannabinoid, cannabinboid receptor, cardiometabolic risk factorsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-03-01
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์