โมเดลโครงสร้างเชิงสาเหตุของความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดาวัยรุ่นและแม่ของตนเอง A Structural Equation Model of Attachment between Adolescent Mothers and Their Own Mothers

Authors

  • Nucharee Sangsawang
  • Nujjaree Chaimongkol
  • Wannee Deoisres

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดาวัยรุ่นและมารดาของตนเอง วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบการทดสอบโมเดลนี้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือ มารดาวัยรุ่นจำนวน 240 ราย ที่มีอายุ 19 ปี หรือต่ำกว่า อาศัยอยู่กับมารดาของตนเอง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดให้กลุ่มตัวอย่างตอบเองจำนวน 5 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความผูกพันรักใคร่ของบิดามารดาและกลุ่มเพื่อน แบบวัดครอบครัวของจุฬาลงกรณ์ แบบวัดความเครียดของการเป็นบิดามารดา และแบบวัดการสนับสนุนหลังคลอด  ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างสำหรับการทดสอบความสอดคล้องของโมเดล ผลการศึกษา: พบว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ปรับปรุงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 76.89, P-value = 0.07, df = 60, GFI = 0.96, CFI = 0.98, and RMSEA = 0.03) โดยทำนายความแปรปรวนของความผูกพันรักใคร่ได้ร้อยละ 40 การทำหน้าที่ของครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดในการเป็นบิดามารดามีอิทธิพลทางตรงกับความผูกพันรักใคร่ และการทำหน้าที่ของครอบครัวมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านทางการสนับสนุนทางสังคม สรุป: ความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดาวัยรุ่นและมารดาของตนเองจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม การจัดกระทำหรือโปรแกรมที่มุ่งเพิ่มการทำหน้าที่ของครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคม และลดความเครียดของการเป็นบิดามารดา จะส่งเสริมความผูกพันรักใคร่คำสำคัญ: มารดาวัยรุ่น, ความผูกพันรักใคร่, การทำหน้าที่ของครอบครัว, การสนับสนุนทางสังคม, ความเครียดของการเป็นบิดามารดา, โมเดลสมการโครงสร้างObjective: To test the causal relationships of attachment between adolescent mothers and their own mothers. Methods: In this model-testing study, a multi-stage random sampling technique was used to recruit a total of 240 adolescent mothers aged 19 years of below living with their own mothers. Data were collected by using five self-reported questionnaires including a demographic form, the Inventory of Parent and Peer Attachment, the Chulalongkorn Family Inventory, the Parental Stress Scale, and the Postpartum Support Questionnaire. Structural equation modeling analysis was conducted to test the model fit. Results: The final model was satisfactorily fit with the data (χ2 = 76.89, P-value = 0.07, df = 60, GFI = 0.96, CFI = 0.98, and RMSEA = 0.03) accounted for 40% of variance in the attachment. Family functioning, social support, and parenting stress had directed effects, and family functioning also had an indirect effect through social support on the attachment. Conclusion: Attachment between adolescent mothers and their own mothers need to be promoted. An intervention focused on increasing family functioning and social support, and decreasing parenting stress would be beneficial to the attachment. Keywords: adolescent mother, attachment, family functioning, parenting stress, social support, structural equation model  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-03-30