ความชุกของการพยายามฆ่าตัวตายในผู้พยายามฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง Prevalence of Suicide Attempts among Attempters and Its Associated Factors
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประมาณความชุกของพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตายในอนาคตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่รับบริการที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลกระทุ่มแบน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2561 จำนวน 168 คน จากแฟ้มประวัติผู้ป่วยของกลุ่มงานจิตเวชซึ่งใช้ Mini International Neuropsychiatric Interview Thai version ประเมินพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตายในอนาคต และแบบประเมิน 9Q depression สำหรับประเมินภาวะซึมเศร้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษา: พบความชุกของพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตายร้อยละ16.1% ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามีโอกาสที่จะพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า 6.4 เท่า (OR = 6.40, P-value < 0.001) ในขณะที่ผู้ที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนมีโอกาสที่จะพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายครั้งแรก 5.7 เท่า (OR = 5.70, P-value = 0.01) สรุป: ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่มีภาวะซึมเศร้าและมีประวัติการพยายามฆ่าตัวตายมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ จึงควรหามาตรการป้องกันและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป คำสำคัญ: การพยายามฆ่าตัวตาย, ภาวะซึมเศร้า, ประวัติการฆ่าตัวตายAbstract Objective: To examine prevalence of future suicide attempt behavior and determine its potential related risk factors among suicide attempters. Methods: In this retrospective study, the sample consisted of 168 attempters registered in psychiatric clinic of Krathumbaen Hospital from October 1st 2015to September 30th, 2018. In this psychiatric clinic, the Mini International Neuropsychiatric Interview Thai version and 9Q depression were routinely used to ass the suicide attempt and depression, respectively. Descriptive statistics, chi-square test and binary logistic regression were used to analyze the data. Results: The prevalence of suicide attempt behavior was 16.1%. Attempters with depression had a higher risk of suicide attempt behavior than those with no depression (OR = 6.40, P-value < 0.001). Attempters with a history of suicide attempt had a higher risk of suicide attempt behavior than their counterparts (OR = 5.70, P-value = 0.01). Conclusion: Attempters with depression and a history of suicide attempt were at higher risk of future suicide attempt behavior. Appropriate treatment and planning should be further studied for preventing repeated suicide attempt. Keywords: suicide attempt, depression, history of suicide attemptDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-09-28
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์