Experiences of Sexual Health Literacy in Sexual Relationship among Female Adolescent Students with Unplanned Pregnancy: A Qualitative Stud
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายประสบการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศในความสัมพันธ์ทางเพศของนักเรียนวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน วิธีการศึกษา: ในการศึกษาเชิงคุณภาพนี้ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน ข้อมูลจึงอิ่มตัว มีอายุระหว่าง 14 - 19 ปี ซึ่งตั้งครรภ์ขณะกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน เก็บข้อมูลที่แผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลชุมชน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 – มิถุนายน 2562 เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง, บันทึกเทปการสัมภาษณ์, การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม, และการจดบันทึกภาคสนาม ใช้การวิเคราะห์แก่นสาระตามแนวคิดของ Braun และ Clarke ผลการศึกษา: ประสบการณ์ความสัมพันธ์ทางเพศ สามารถจำแนกได้ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การคบหากับเพศตรงข้าม 2) สถานการณ์ที่นำไปสู่การยินยอมมีเพศสัมพันธ์ และ 3) การแสวงหาวิธีแก้ปัญหาหลังการมีเพศสัมพันธ์ สรุป: ประสบการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศในความสัมพันธ์ทางเพศของนักเรียนวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนที่พบนี้สามารถนำไปใช้ให้ความรู้เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้วางแผนและการส่งเสริมการคุมกำเนิดที่เหมาะสม คำสำคัญ: นักเรียนวัยรุ่นหญิง, วิจัยเชิงคุณภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศ, ความสัมพันธ์ทางเพศ, ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน Abstract Objective: To describe the experiences of sexual health literacy in sexual relationship among female adolescent students with unplanned pregnancy. Method: In this qualitative study, 20 informants were purposively sampled and interviewed until the data were saturated. They were 14 - 19 years old and got pregnant while in school. The recruitment participants at Ante natal care department of the Community hospitals from November 2018 to June 2019. Data were collected through in-depth interviews by semi-structured interview guide using voice recorder, non-participant observations, and field note. Thematic analysis of Braun and Clarke was employed to analyze the data. Results: The experiences of sexual relationship could be categorized into 3 groups, 1) dating the opposite sex, 2) situations leading to consent to have sexual intercourse, and 3) seeking a solution after sex. Conclusion: Experiences of sexual health literacy among female adolescents with unplanned pregnancy were identified. They could be used in education to promote the unplanned sex prevention and the proper use of birth control. Keyword: female adolescent students, qualitative study, sexual health literacy, sexual relationship, unplanned pregnancyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์