ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกต้นแคบ้านต่อแบคทีเรียก่อโรคท้องเสีย Antibacterial Activity of Sesbania grandiflora (L.) Desv. Bark Extract against Diarrheal Pathogens

Authors

  • Wannisa Raksamat
  • James Phungphol
  • Alisa Prom-or
  • Noppawan Sopeng
  • Wannipa Pitpirom
  • Pachara Boochakul
  • Issara Siramaneerat

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกต้นแคบ้านในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอุจจาระร่วง 5 สายพันธุ์ คือ Staphylococcus aureus ATCC 25923, Escherichia coli ATCC 25922, Salmonella enteritidis DMST 15676, Shigella sonnei ATCC 11060 and Vibrio parahaemolyticus ATCC 17802 วิธีการศึกษา: ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยวิธี disc diffusion เพื่อหาบริเวณยับยั้งเชื้อ หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) และหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถฆ่าเชื้อทั้ง 5 สายพันธุ์ (MBC) ด้วยวิธี broth micro dilution ผลการศึกษา: สารสกัดจากเปลือกต้นแคบ้านสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอุจจาระร่วงที่นำมาศึกษาได้ทุกสายพันธุ์ ยกเว้น S. enteritidis DMST 15676 เมื่อทดสอบด้วยวิธี broth micro dilution สารสกัดจากเปลือกต้นแคบ้านยับยั้งเชื้อ S. aureus ATCC 25923 ได้ดีที่สุด โดยมีค่า MIC เท่ากับ 3.12 mg/ml และค่า MBC เท่ากับ 6.25 mg/ml สรุป: สารสกัดจากเปลือกต้นแคบ้านสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอุจจาระร่วงบางสายพันธุ์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยคำสำคัญ: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย, แบคทีเรียก่อโรคอุจจาระร่วง, สารสกัดจากเปลือกต้นแคบ้านAbstract Objective: To evaluate antibacterial activity of S. grandiflora (L.) Desv. bark extract on Staphylococcus aureus ATCC 25923, Escherichia coli ATCC 25922, Salmonella enteritidis DMST 15676, Shigella sonnei ATCC 11060 and Vibrio parahaemolyticus ATCC 17802.  Method: Antibacterial activity tests were performed by using disc diffusion method to detect the inhibition zone, and micro broth dilution method to identify the minimal inhibitory concentration (MIC) and minimal bactericidal concentration (MBC). Results: The bark extract of S. grandiflora (L.) Desv. inhibited all bacterial strains except S. enteritidis DMST 15676. When tested with the broth micro-dilution technique, the extract inhibited S. aureus ATCC 25923 the most at the MIC of 3.12 mg/ml and the MBC of 6.25 mg/ml. Conclusion: These results indicated that the S. grandiflora (L.) Desv. bark extract is capable in inhibiting some diarrheal pathogens in accordance with Thai local wisdom. Keywords: antibacterial activity, diarrheal pathogens, Sesbania grandiflora (L.) Desv. bark extract  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-30