Items and Value of Household Leftover Medicines for Chronic Conditions at Sansai-Luang Sub-district, Sansai District, Chiang Mai Province-ปริมาณและมูลค่ายาเหลือใช้โรคเรื้อรังในครัวเรือน ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ิ

Authors

  • Puckwipa Suwannaprom
  • Narawadee Niamhun
  • Pratana Champoonot
  • Chabaprai Phosuya
  • Hathaikan Chowwanapoonpohn
  • Sakon Supakul
  • Rossukon Chaichana
  • Budsaba Laopanichkul
  • พักตร์วิภา สุวรรณพรหม
  • นราวดี เนียมหุ่น
  • ปรารถนา ชามภูนช
  • ชบาไพร โพธิ์สุยะ
  • หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล
  • สกนธ์ สุภากุล
  • รสสุคนธ์ ชัยชนะ
  • บุษบา เหล่าพาณิชย์กุล

Abstract

AbstractObjective: The study aimed to explore items and values of leftovermedicines in households of people living in Sansai-Luang Subdistrict,Sansai District, Chiang Mai Province. Methods: The researchers visited thesample’s house and collected the data by interviewing and observingleftover medicines. Results: Out of 350 observed households, 25households had no patient with chronic condition and 44 households hadchronic patients but they did not have discrete information aboutappointment date. Of those 281 households with complete information, 253households (90.0%) had leftover medicines for their chronic condition. Onthe other hand, 103 households (36.7%) were in short supply of theirchronic medicines. Value of overall leftover medicines was 51,391.69 ThaiBaht, or 182.87 Thai Baht/ household. HTCZ 50 mg was the mostfrequently found leftover medicine in the household (n = 96, 27.4%),followed by Glibenclamide 5 mg (n = 60, 17.1%) and Enarapril 5 mg (n =45, 12.6%). Reasons for leftover medicines were that physicians overprescribed the medicines, patients forgot to take the medicines, physicianschanged the treatment regimens, patients were transferred to other hospital,and others. Conclusion: The study’s findings highlight the patients’medical use behavior at their houses and the needs for better care frompharmacists and healthcare practitioners in order to improve the patients’knowledge and understanding in rational and continuous use of medicinesKeywords: leftover medicine, chronic illness บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปริมาณและชนิดของยาเหลือใช้ในครัวเรือนและมูลค่ายาเหลือใช้ในครัวเรือน ในเขต ต.สันทรายหลวง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่วิธีการศึกษา: โดยเยี่ยมบ้านครัวเรือนตัวอย่าง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกตยาเหลือใช้ในครัวเรือนผลการศึกษา: พบว่าจากครัวเรือนทั้งหมด 350 ครัวเรือน 25 ครัวเรือนไม่มียาสำหรับโรคเรื้อรังในครัวเรือน และ 44 ครัวเรือนไม่สามารถประเมินปริมาณยาคงค้างในครัวเรือนได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวันนัดพบแพทย์ หรือจำวันนัดไม่ได้จาก 281 ครัวเรือนที่เหลือพบว่า 253 ครัวเรือน (ร้อยละ 90.0) มียาที่เหลือใช้ในครัวเรือน และ 103 ครัวเรือน (ร้อยละ 36.7) มียาบางรายการที่ไม่เพียงพอสำหรับการใช้จนถึงการนัดเพื่อเข้ารับบริการครั้งต่อไป มูลค่ายาเหลือใช้ในครัวเรือนคิดเป็น 51,391.69 บาท หรือ เฉลี่ยครัวเรือนละ 182.87 บาท ชนิดของยาเหลือใช้ในครัวเรือนมากที่สุดคือ HCTZ 50 mg ซึ่งเหลือใน 96 ครัวเรือน (ร้อยละ 27.4)รองลงมาคือ Glibenclamide 5 mg ซึ่งเหลือใช้อยู่ใน 60 ครัวเรือน (ร้อยละ 17.1)และ Enalapril 5 mg เหลือใน 45 ครัวเรือน (ร้อยละ 12.6) สาเหตุของยาเหลือใช้เกิดจากหลายปัจจัย คือ แพทย์จ่ายยาเกิน ผู้ป่วยลืมกินยา และจากการเปลี่ยนแผนการรักษา หรือเปลี่ยนสถานบริการ สรุป: ผลการศึกษาดังกล่าวทำให้เภสัชกรเข้าใจถึงสภาวะการใช้ยาของผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งต้องการการดูแล ให้ความรู้ เพิ่มความเข้าใจ ให้กับผู้ป่วยเรื่องการใช้ยาที่เหมาะสมและต่อเนื่องต่อไปคำสำคัญ: ยาเหลือใช้, โรคเรื้อรัง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-01-01