การเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการด้านยาของโรงพยาบาลรัฐบาลหลังนำระบบพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมาปฏิบัติ:กรณีศึกษาโรงพยาบาลใน 12 จังหวัด

Authors

  • ชูเกียรติ เพียรชนะ
  • เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการจัดการด้านยาหลังนำระบบพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (hospital accreditation;HA) มาปฏิบัติ วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง โดยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มงานเภสัชกรรมของโรงพยาบาลรัฐบาลทุกระดับใน 12 จังหวัด โดยสุ่มจังหวัดแบบตามสะดวก ระหว่าง 15 ธันวาคม 2551 – 30 มกราคม 2552 ผลการศึกษา: จากแบบสอบถาม103 ฉบับ ได้รับกลับ 53 ฉบับ (ร้อยละ 51.46) พบว่าระบบงานที่โรงพยาบาลมากกว่าร้อยละ 50 ปฏิบัติได้ในระดับมากถึงมากที่สุด 5 อันดับแรกหลังนำ HA มาปฏิบัติ ได้แก่ 1) ระบบป้องกัน/เฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำ 2) ระบบเฝ้าระวังยาหมดอายุ 3) ระบบเฝ้าระวังยาขาดคลัง 4) ระบบควบคุมคุณภาพยา และ 5) ระบบจัดการระยะเวลารอรับยา ส่วนด้านการพัฒนาระบบการจัดการด้านยาที่เปลี่ยนแปลงในระดับมากถึงมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) เภสัชกรตระหนักถึงความปลอดภัยด้านยาเพิ่มขึ้น 2) ผู้ป่วยมีความปลอดภัยด้านยาเพิ่มขึ้น 3) พยาบาลตระหนักถึงความปลอดภัยด้านยาเพิ่มขึ้น 4) เจ้าหน้าที่ช่วยงานเภสัชกรรมมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้คุณภาพการจัดการด้านยาเพิ่มขึ้น และ 5) เภสัชกรมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้คุณภาพการจัดการด้านยาเพิ่มขึ้น สำหรับตัวชี้วัดระบบการจัดการด้านยาที่โรงพยาบาลมากกว่าร้อยละ 50 เปลี่ยนแปลงดีขึ้น 5 อันดับแรก ได้แก่ ตัวชี้วัดเรื่องจำนวนรายการยาหมดอายุ ณ หอผู้ป่วย จำนวนอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาระดับรุนแรง (E – I) จำนวนรายการยาหมดอายุ ณ งานเภสัชกรรม อัตราความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา และความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากยากลุ่มเสี่ยงสูง สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจุดอ่อนของระบบการจัดการด้านยา ได้แก่ 1) ภาระงานที่เพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติงานในระบบการจัดการด้านยา 2) การอบรมเรื่องยา/ความปลอดภัยด้านยาของแพทย์ เจ้าหน้าที่ช่วยงานเภสัชกรรม พยาบาล และเภสัชกร 3) วิธีปฏิบัติของแพทย์เพื่อให้ได้คุณภาพของระบบยา 4) การเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ป่วยและญาติได้ทราบข้อมูลด้านยา 5) การสื่อสารเชื่อมโยงกิจกรรมระบบยากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6) การปรับรูปแบบเภสัชภัณฑ์ให้เอื้อต่อความปลอดภัยด้านยา และ 7) ความตระหนักของแพทย์ในความปลอดภัยด้านยา สรุป : ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่า HA ทำให้โรงพยาบาลส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ของระบบการจัดการด้านยาในระดับที่ต่างกัน ทั้งที่ดีขึ้นและไม่พึงประสงค์ ซึ่งส่วนที่ไม่พึงประสงค์นี้ สะท้อนจุดอ่อนของระบบพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งควรแก้ไขเพื่อให้ระบบสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคำสำคัญ: การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, ระบบการจัดการด้านยา, โรงพยาบาลรัฐบาล 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2009-09-01