การเรียนการสอนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในหลักสูตรเภสัชศาสตร์ของประเทศไทย
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เป็นการวิจัยแบบสำรวจเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคณะเภสัชศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศ และเพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของนิสิต/นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ในการนำไปใช้ในการแนะนำแก่ผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน วิธีการศึกษา: โดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งอาจารย์และนิสิต/นักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็นอาจารย์จำนวน 245 ฉบับ และนิสิต/นักศึกษาจำนวน 560 ฉบับ ผลการศึกษา: ได้รับแบบสอบถามกลับมาจากอาจารย์จำนวน 73 ฉบับ (ร้อยละ 29.80) และจากนิสิต/นักศึกษาจำนวน 397 ฉบับ (ร้อยละ 70.89) พบว่ามีอาจารย์ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 41.10 ที่สอนเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหาของรายวิชาเลือกสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 5 โดยใช้เวลาในการเรียนการสอน 2 - 4 ชั่วโมง (ร้อยละ 53.33 ของอาจารย์ที่สอน) เนื้อหาที่มีการสอนสูงสุดคือผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกายและสมอง (ร้อยละ 73.33) ผลการศึกษาส่วนนิสิต/นักศึกษาพบว่าส่วนมากมีคะแนนความรู้เรื่องอาหารเสริมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 49.37) และผู้ที่มีความรู้ระดับสูงและระดับน้อยมีจำนวนเท่า ๆ กัน (ร้อยละ 24.43 และ 26.20 ตามลำดับ) โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เท่ากับ 5.85 ± 2.33 (คะแนนเต็ม 15) โดยประเด็นที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การรับประทานวิตามินซีเป็นประจำช่วยลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดและที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ผู้สูงอายุที่มีปัญหากระดูกพรุนหากรับประทานแคลเซียมจะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ตามลำดับ สรุป: การเรียนการสอนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในหลักสูตรปัจจุบันทำให้นิสิต/นักศึกษามีระดับความรู้เพียงปานกลางเท่านั้น ซึ่งอาจยังไม่เพียงพอในการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงอาจต้องเพิ่มจำนวนเนื้อหาและเวลาสำหรับเรื่องนี้ เพื่อเพิ่มความรู้ให้กับนิสิต/นักศึกษาต่อไปคำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, อาหารเสริม, เภสัชศาสตร์ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(2):146-153§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-04-12
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์