ตัวชี้วัดระบบยาและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการของระบบยา: กรณีศึกษา ณ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อหาตัวชี้วัดที่เหมาะสมของระบบยา และปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการของระบบยาในโรงพยาบาล วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองเก็บข้อมูลจากแพทย์ เภสัชกรและพยาบาล ของโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในเขต 5 สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2552 – 7 มกราคม 2553 ผลการศึกษา: ส่งแบบสอบถามทั้งสิ้น 180 ฉบับ ได้รับตอบกลับ 105 ฉบับ พบว่าเกี่ยวกับตัวชี้วัดระบบยา จากทั้งหมด 24 ตัวชี้วัด ตัวอย่างเห็นว่าเหมาะสมในระดับมาก 11 ตัวชี้วัด และระดับปานกลาง 13 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมในระดับมาก 5อันดับแรก ได้แก่ การมีระบบป้องกันการแพ้ยาซ้ำ ยาที่ผู้ป่วยได้รับมีคุณภาพ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับยาอย่างต่อเนื่องเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล/ย้ายหอผู้ป่วย/หรือกลับบ้าน มีแนวทางปฏิบัติเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในระบบยา และการมีระบบป้องกัน/แก้ไขการเกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา พบว่าแต่ละวิชาชีพมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไป เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการของระบบยา พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นว่าทั้ง 23 ปัจจัย มีผลต่อการดำเนินการของระบบยาในระดับมาก โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหาร ความร่วมมือของสหวิชาชีพ/ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับระบบยาสมรรถนะ (competency) ในการบริหารจัดการของผู้มีบทบาทหลักของระบบยา (key person) สมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับระบบยาและการมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบยา สรุป: ข้อมูลตัวชี้วัดระบบยาและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการของระบบยาที่ได้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบยาของโรงพยาบาลแห่งนี้ และชุดของตัวชี้วัดที่ใช้ในการศึกษานี้ควรมีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ศึกษาในระดับประเทศต่อไปคำสำคัญ: ตัวชี้วัดระบบยา, ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการของระบบยา, ระบบยา, โรงพยาบาลไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(2):138-145§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-04-12
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์