การจัดทำแนวทางการใช้ยา cefoperazone/sulbactam ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Authors

  • นิตยา ภาพสมุทร กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • ปริญดา จันทร์บรรเจิด
  • กนกกช บุศย์น้ำเพชร
  • วราภรณ์ ภูมิอภิรัตน์
  • จิราพร คำแก้ว

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะการสั่งใช้ยา cefoperazone/sulbactam (cef/sul) และจัดทำแนวทางการใช้ยา cef/sul วิธีการศึกษา: เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนา (R&D) ระบบยาในโรงพยาบาล โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยใน ระหว่าง 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2550 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปปัญหาและสร้างแนวทางการใช้ยา ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยในที่ใช้ยา cef/sul จำนวน 115 ราย ส่วนมากสั่งจ่ายโดยแพทย์อายุรกรรม (72 ราย, ร้อยละ 63)เป็นการใช้ยาแบบคาดการณ์ล่วงหน้า (empiric) (79 ราย, ร้อยละ 69) โดยมีการใช้ยาฆ่าเชื้ออื่นมาก่อน (87 ราย, ร้อยละ 73) เป็นผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลนานกว่า 5 วัน (99 ราย, ร้อยละ 86) ส่วนใหญ่สั่งใช้ใน pneumonia (47 ราย, ร้อยละ 40) โดยเชื้อก่อโรคเป็นเชื้อรุนแรง (62 ราย, ร้อยละ 54) ขนาดยาที่ใช้เป็นขนาดสำหรับรักษาการติดเชื้อทั่วไปไม่ใช่สำหรับการติดเชื้อรุนแรง (100 ราย, ร้อยละ 87) ส่วนมากผลการรักษาดีขึ้น (58 ราย, ร้อยละ 50) และพบผลไม่พึงประสงค์ 4ราย (ร้อยละ 3.5) โดยพบภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 1 ราย (ร้อยละ 0.8) ในการสร้างแนวทางการใช้ยาจึงได้เน้นเกณฑ์พิจารณาที่ละเอียดสำหรับการใช้ยาแบบคาดการณ์ล่วงหน้า โดยกำหนดให้ใช้ในรายที่สงสัยจะติดเชื้อในโรงพยาบาลและมีการตรวจยืนยันเชื้อ ถ้าเชื้อมีความไวต่อยาอื่นด้วยให้ใช้แนวทาง step-downtherapy แนะนำให้ใช้ขนาดยาสำหรับการติดเชื้อรุนแรงประมาณ 7 - 14 วัน ให้ตรวจติดตามการทำงานของตับและไต และให้วิตามินเคเพื่อป้องกันผลไม่พึงประสงค์ต่อเกล็ดเลือด สรุป: พบการสั่งใช้ยา cefoperazone/sulbactam ในผู้ป่วยที่ไม่รุนแรง ไม่ส่งเพาะเชื้อและไม่พบเชื้อ และใช้ขนาดการรักษาที่ไม่เหมาะสมจึงจัดทำแนวทางการใช้ยาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และควรรณรงค์การใช้ยาตามแนวทางที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ลดปัญหาเชื้อดื้อยาและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นคำสำคัญ: แนวทางการใช้ยา, cefoperazone/sulbactamไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(2):107-113§

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2010-04-09