การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิธีการนิเทศแบบพี่เลี้ยง ของเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สมเกตุ อุทธโยธา

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เกิดจากเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชนตามแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21โดยใช้วิธีการนิเทศแบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) กลุ่มเป้าหมาย เป็นบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1, 2 และ 4 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และบุคลากรของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม6 โรงเรียนเครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกการสัมภาษณ์แบบบันทึกบริบทขององค์กรในชุมชน แบบบันทึกการประชุม แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดประเภทหรือหมวดหมู่ สังเคราะห์ค้นหารูปแบบแปลความหมายและตีความข้อมูลแล้วอธิบายและบรรยายถึงสิ่งที่ค้นพบ ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ สรุปผลการวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรวม CoCoOut21 Modelที่ประกอบด้วย Co: Collaboration: การประสานความร่วมมือ Co: Coaching and Mentoring: การนิเทศแบบพี่เลี้ยง Out: Outreach Program: การออกหน่วยบริการเชิงรุกถึงโรงเรียนและ 21: Learning in 21st Century: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ การเรียนรวม การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชน การนิเทศแบบพี่เลี้ยง ABSTRACT Research objective aimed to develop the Inclusive Education Model for Children with Special Needs Based on Learning in 21st Century by Using Coaching and Mentoring Method with Collaborative Local Organization Network in Chiang Mai. Target group were personnel of Chiang Mai Primary Education Office Area 1, Area 2 and Area 4, personnel of Special Education Center, Educational Region 8, personnel of Rajanagarindra Children Development Institute Chiang Mai, Department of Mental Health, personnel of Special Education Department, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University.  And the staff of the mainstream school co-host 6 schools. The instruments of research were in-depth interview record form, meeting record form, satisfaction evaluation form. Data analysis: qualitative dataanalyzed by classification or category, synthesize, find patterns, and data interpretation. Quantitative data where analyzed by using percentages. Research result  indicate that the model of Inclusive Education by CoCoOut21 Model consisted of Co: Collaboration, Co: Coaching and Mentoring, Out: Outreach Program and 21: Learning in 21st Century. Keywords: Development, Inclusive Education Model, Learning in 21st Century, Local Organizational Cooperation Network, Coaching and Mentoring

Article Details

How to Cite
อุทธโยธา ส. (2017). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิธีการนิเทศแบบพี่เลี้ยง ของเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9839
Section
บทความวิจัย (Research Articles)