การขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามแนวทาง การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบ CoCoOut21 Model
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลการขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และเขต 4 บุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 บุคลากรของสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต บุคลากรของภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ บุคลากรและผู้ปกครองของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม 5 โรงเรียน โรงเรียนขยายโอกาสการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และเขต 4 จำนวน 4 โรงเรียน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 จำนวน 1 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลา ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยแบบบันทึกการสัมภาษณ์แบบบันทึกบริบทขององค์กรในชุมชน แบบบันทึกการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดประเภทหรือหมวดหมู่ สังเคราะห์ ค้นหารูปแบบ แปลความหมายและตีความข้อมูลแล้วอธิบาย และบรรยายถึงสิ่งที่ค้นพบ สรุปผลการวิจัย: ได้ขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model สู่โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม ดังนี้ 1) โรงเรียนขยายโอกาสการศึกษา 2) โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 3) โรงเรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างพื้นที่ใหม่ และ 4) กลุ่มผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนรวม คำสำคัญ: การขยายผล การจัดการเรียนรวม CoCoOut21 Model การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ABSTRACT Research Objectives of this research was to explore of enhancing education for children with special needs through the use of CoCoOut21 model inclusive. Research participants comprised personnel of Chiang Mai Primary Education Office Area 3, Area 4, personnel of Secondary Education Office Area 34, personnel of Special Education Center, Educational Region 8, personnel of Rajanagarindra Children Development Institute Chiang Mai, Department of Mental Health, personnel of Special Education Department, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University, and the staff together with parents of children with special needs from 5 pilot inclusive schools, they are 4 the educational opportunity expansion schools, and 1 secondary school, the sample group was sampling by purposive sampling.Research process in academic year 2018.Research instruments consisted of survey form, in-depth interview record form, meeting record form. Data were analyzed by qualitative data analyzed by classification or category, synthesize, find patterns, and data interpretation. Results indicated that enhancing inclusive education by using CoCoOut21 Model through the pilot inclusive schools will be discussed in detail as follows: 1) the educational opportunity expansion schools.2) a secondary. 3) The inclusive schools where were under the Chiang Mai Primary Educational Service Areas Office 3, and4) the parents of special needs children in selected inclusive schools in Chiang Mai. Keywords: Enhancing, Inclusive Education, CoCoOut21 Model, Learning in 21st Century.
Article Details
How to Cite
อุทธโยธา ส. (2019). การขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามแนวทาง การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบ CoCoOut21 Model. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11819
Section
บทความวิจัย (Research Articles)