การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สมคิด กอมณี

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร และ     3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ใช้ในการศึกษาสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 310 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นจากประชากร กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ได้มาจากการคัดเลือก แบบเฉพาะ เจาะจงจากกลุ่มที่ 1 ที่มีคะแนนสมรรถนะทางสังคมตั้งแต่ เปอร์เช็นไทล์ที่ 50 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 24 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็น  2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน โดยกลุ่มทดลอง ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคม ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษาใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) แบบวัดสมรรถนะทางสังคมมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .90 และผลการตรวจสอบความตรง     เชิงโครงสร้าง พบว่าโมเดลการวัดองค์ประกอบของสมรรถนะทางสังคมมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์  และ 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคมมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .66-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Wilcoxon Matched Pairs Signed RanksTest และ Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยสมรรถนะทางสังคมโดยรวมและรายด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับสูง  โดยสมรรถนะทางสังคมรายด้าน ได้แก่ สมรรถนะทางสังคมด้านการคิดแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร ด้านอารมณ์   ด้านการกำกับตนเอง และด้านจิตอาสา 2. รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคม พัฒนาจากการประยุกต์ใช้ แนวคิด และเทคนิคของทฤษฎีต่างๆ ของการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำ ได้แก่ ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด -พฤติกรรม ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มพฤติกรรมนิยม และทฤษฎีการให้คำปรึกษากลุ่มเผชิญความจริง โดยมีขั้นตอนการให้การปรึกษากลุ่ม 3 ขั้นตอนคือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และ ขั้นยุติการให้การปรึกษากลุ่ม 3. สมรรถนะทางสังคมของนักเรียนโดยรวมและรายด้านของกลุ่มทดลองหลังการทดลองก่อนการทดลองหลังการติดตามผลและก่อนการทดลอง หลังการติดตามผลหลังการทดลอง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยของสมรรถนะทางสังคมโดยรวม หลังการทดลอง และหลังติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง 4. ก่อนการทดลองสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน      ส่วนสมรรถนะทางสังคมโดยรวมและรายด้านของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง และหลังการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยค่าเฉลี่ยของสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผลสูงกว่าสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนกลุ่มควบคุม ความสำคัญ: สมรรถนะทางสังคม  รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำ5. ผลการสนทนากลุ่มเฉพาะเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำ เนื่องจากนักเรียนมีโอกาสได้แสดงความคิดความรู้สึกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมการให้การปรึกษากลุ่ม  และได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้และฝึกปฎิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคม

Article Details

How to Cite
กอมณี ส. (2017). การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/8597
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)