การพัฒนาความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กลุ่มสัมพันธ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กลุ่มสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 2) เพื่อพัฒนากลุ่มสัมพันธ์ที่ใช้ในการพัฒนาความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 3) เพื่อประเมินผลของการใช้กลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาความมีระเบียบวินัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 1379 คนส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดลองเป็นนักเรียนที่ได้จากประชากร ที่มีคะแนนความมีระเบียบวินัยตั้งแต่เปอร์เช็นไทล์ที่ 50 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 24 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกลุ่มสัมพันธ์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มสัมพันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดความมีระเบียบวินัยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .89 และ 2) กลุ่มสัมพันธ์ที่ใช้ในการพัฒนาความมีระเบียบวินัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .66-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks TestและMann- Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ความมีระเบียบวินัยโดยรวมและรายด้าน ซึ่งได้แก่ด้านความมีระเบียบวินัยที่กระทำต่อตนเอง และด้านความมีระเบียบวินัยที่กระทำต่อผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย 2. กลุ่มสัมพันธ์ที่ใช้ในการพัฒนาความมีระเบียบวินัยด้านความมีระเบียบวินัยที่กระทำต่อตนเอง และด้านความมีระเบียบวินัยที่กระทำต่อผู้อื่นมีขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นมีส่วนร่วม 2) ขั้นวิเคราะห์ 3) ขั้นประยุกต์หลักการ 4) ขั้นสรุปและประเมินผล ส่วนเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ เกม (Game) บทบาทสมมติ (Role - Play) สถานการณ์จำลอง (Simulation) กรณีตัวอย่าง (Case) ละคร (Acting or Dramatization) กลุ่มย่อย (Small Group) 3. ความมีระเบียบวินัยของนักเรียนกลุ่มทดลองโดยรวมและรายด้าน ระหว่างหลังการทดลอง-ก่อนการทดลอง ระหว่างหลังการติดตามผล-ก่อนการทดลอง และระหว่างหลังการติดตามผลและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยความมีระเบียบวินัยโดยรวมหลังการทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง 4. ก่อนการทดลองความมีระเบียบวินัยของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันส่วนความมีระเบียบวินัยโดยรวมและรายด้านของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระหว่างหลังการทดลองและระหว่างหลังการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยของความมีระเบียบวินัย หลังการทดลองและหลังการติดตามผลสูงกว่า ความมีระเบียบวินัยของนักเรียนกลุ่มควบคุม 5. ผลการสนทนากลุ่มเฉพาะเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อกลุ่มสัมพันธ์ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความมีระเบียบวินัยเนื่องจากนักเรียนมีโอกาสได้แสดงความคิด ความรู้สึกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้ตลอดจนได้รับการฝึกปฏิบัติความมีระเบียบวินัย คำสำคัญ : ความมีระเบียบวินัย กลุ่มสัมพันธ์ ABSTRACT The puposes of this research topic “The development of discipline of Senior High School Students of Srinakharinwirot University, Prasarnmit Demonstration School (Secondary) through group dynamics” were 1) to studythe discipline of senior high schoolstudents of Srinakharinwirot University; Prasarnmit Demonstration School (Secondary), 2) to developgroup dynamicsfor developing discipline of senior high schoolstudents of Srinakharinwirot University, Prasarnmit Demonstration School (Secondary), and 3) to evaluate the effect of group dynamics developing discipline of senior high schoolstudents of Srinakharinwirot University, Prasarnmit Demonstration School (Secondary). The population of the disciplinestudy consisted of 1379senior high school students. The sample group participated in the experiment was selected from the population. This group consisted of 24 students whose disciplinescores were lower than fiftieth percentile. They were then randomly selected into 2 groups, classified as an experimental group and a control group. Each group consisted of 12 students. The experimental group participated in the group dynamics while the control group did not receive any group dynamics. The research instruments were 1) the discipline scale with a reliability coefficient (alpha) of .89 and 2) the group dynamics for developing discipline with IOC ranged from .66-1.00. percentage, Mean, standard deviation, Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test, and Mann- Whitney U Test were used to analyze the data. The research findings were as follows : 1) The total discipline and each dimension sore of the discipline: 1) self-discipline, 2) discipline towards others of the senior high school students of Srinakharinwirot University, Prasarnmit Demonstration School (Secondary) were low. 2) The group dynamics for developing the students’ discipline: 1) self-discipline and 2) discipline towards others included working stage: 1) participation stage, 2) analytical analysis stage, 3) principle application stage, and 4) evaluation stage. Berider, the group dynamics techniques were game, role - play, simulation, case, acting or dramatization, small group. 3) Before the experiment, the discipline of the experimental group and the control group were not different. Satistically significant differences in the disciplinescores of the experimental group existed between posttest and pretest, between the follow-up and pretest, and also between the follow-up and posttest at .01 level. The mean scores of the students’ discipline after the experiment and the follow-up were higher than before the experiment 4) Statistically significant differences in thedisciplinescores between the experimental group and the control group were found after the experiment and the follow-upat .01 level. The mean scores of the disciplineof the experimental group after the experiment and after the follow-up were higher than that of the control group. 5) Focus group report of the experimental group showed that they were satisfied with the group dynamics for developing the discipline. They had opportunity to express and share their opinions and feelings during participating in the group dynamics. They also gained more knowledges and experiences in the discipline through learning and practicing. Keywords : Discipline ,Group Dynamics
Article Details
How to Cite
กอมณี ส. (2018). การพัฒนาความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กลุ่มสัมพันธ์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11051
Section
บทความวิจัย (Research Articles)