การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

Main Article Content

สมคิด กอมณี

Abstract

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1,697 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากนักเรียนที่มีคะแนนความสุข ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา จากนั้นแล้วสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ12 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษาใด ๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสุขของนักเรียน มีค่าความ เที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .93 และวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence: IOC) อยู่ระหว่าง .60-1.00 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 1,697 คนมีค่าเฉลี่ยความสุขโดยรวมอยู่ระดับน้อย ความสุขโดยรวม ของนักเรียน ประกอบด้วย ความสุข 2 ด้าน คือ 1) ความสุขด้านจิตใจ: การยอมรับตนเอง ความเป็นตัวของตัวเอง จุดมุ่งหมายในชีวิต การควบคุมตนเองและความพอเพียงของตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย และ 2) ความสุขด้านสังคม: การยอมรับผู้อื่น การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง และจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย
2.การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน เป็นรูปแบบที่ได้ประยุกต์แนวคิดและเทคนิคของทฤษฎีต่าง ๆ ของการให้การปรึกษากลุ่มที่ประกอบด้วย ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบวิเคราะห์ การสื่อสารระหว่างบุคคล และทฤษฎีการให้คำปรึกษากลุ่มการรู้คิดและพฤติกรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นประยุกต์หลักการ และขั้นประเมินผลให้การปรึกษากลุ่ม
3. ความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) กลุ่มทดลอง หลังได้รับการใช้รูปแบบการให้การปรึกษา กลุ่มและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าความสุขของนักเรียนกลุ่มควบคุม ที่ไม่ได้รับการใช้ รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อกลุ่ม ที่ใช้ในการเสริมสร้างความสุข โดยทำการสนทนากลุ่มเฉพาะหลังการทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสุข โดยใช้กลุ่มสัมพันธ์ อย่างมาก เพราะนักเรียนได้เรียนรู้ความสุขของนักเรียนได้อย่างเป็นระบบ ได้เรียนรู้แนวคิด การอภิปราย ซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อน ๆ และบุคคลอื่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ และนำข้อมูลและวิธีการมาประยุกต์ใช้ในความสุขได้ง่ายขึ้น

Article Details

How to Cite
กอมณี ส. (2023). การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) . วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/14575
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)